การแบ่งส่วนทรัพยากรในปูก้ามดาบสกุล Uca บริเวณคลองสิเกา จังหวัดตรัง
รหัสดีโอไอ
Title การแบ่งส่วนทรัพยากรในปูก้ามดาบสกุล Uca บริเวณคลองสิเกา จังหวัดตรัง
Creator พัฒนวรรณ หมู่คุ่ย
Contributor ณิฏฐารัตน์ ปภาวสิทธิ์, ชาญยุทธ สุดทองคง
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword การแบ่งส่วนทรัพยากร (นิเวศวิทยา), ปูก้ามดาบ -- ไทย -- ตรัง, Resource partitioning (Ecology), Fiddler-crabs -- Thailand -- Trang
Abstract การศึกษาการแบ่งส่วนทรัพยากรปูก้ามดาบบริเวณคลองสิเกา จังหวัดตรัง ในช่วงเดือนตุลาคม 2553 ถึงกันยายน 2554 ได้ดำเนินการทั้งหมด 3 บริเวณ ได้แก่ ป่าชายเลนอ่าวบุญคง ป่าชายเลนคลองลำยาว และป่าชายเลนภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย พบปูก้ามดาบทั้งสิ้น 6 ชนิด ได้แก่ Uca (Celuca) lactea erplexa, U. (Thalassuca) vocans vocans, U. (C.) triangularis bengali, U. (Deltuca) forcipata, U.(D.) urvillei และ U.(D.) dussumieri spinata ปูก้ามดาบแสดงการแบ่งส่วนทรัพยากรด้านแหล่งที่อยู่อาศัย โดยพบ U. perplexa ทั่วบริเวณป่าชายเลนคลองสิเกา พบทั้งบริเวณที่มีร่มเงาของไม้ป่าชายเลนและที่โล่งแจ้ง ในบริเวณที่อนุภาคดินตะกอนเป็นดินทราย U. vocans พบอาศัยในบริเวณแคบพบเฉพาะบริเวณอ่าวบุญคงเท่านั้น โดยพบส่วนใหญ่ในที่โล่งแจ้งด้านนอกป่าชาย-เลนจนถึงชายน้ำในบริเวณดินโคลนปนทราย ปูก้ามดาบอีก 3 ชนิด คือ U. bengali, U. forcipata และ U. urvillei ชอบอยู่บริเวณที่มีร่มเงาของไม้ป่าชายเลนบนดินทราย ที่มีสัดส่วนของทรายแป้งและดินเหนียวในปริมาณสูง ส่วนปูก้ามดาบ U. spinata พบบริเวณดินโคลนอ่อนนุ่มที่มีร่มเงาไม้ป่าชายเลนและที่โล่งแจ้ง ปัจจัยที่มีผลต่อการกระจายของปูก้ามดาบ ได้แก่ ขนาดอนุภาคดินตะกอน ปริมาณอินทรีย์สาร และอุณหภูมิเนื่องจากร่มเงาของไม้ป่าชายเลนปูก้ามดาบที่พบในบริเวณป่าชายเลนที่มีลักษณะดินตะกอนต่างกัน จะมีการพัฒนารยางค์ที่ใช้ในการกินอาหารเป็นรูปแบบหนึ่งของการปรับตัว เพื่อการแบ่งส่วนทรัพยากรอาหารและที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิต รยางค์ที่ใช้ในการกินอาหารของปูก้ามดาบ U. perplexa และ U. vocans พบว่าก้ามข้างเล็กซึ่งใช้ในการตักอนุภาคดินตะกอนจะมีลักษณะเรียวบางคล้ายกัน ความยาวของ dactylus และ propodus ใน U. perplexa จะเรียวยาวกว่า ส่วนของ gape จะแคบ มีความสูงของส่วนปลายก้ามข้างเล็กมาก สัดส่วนต่างๆ ของก้ามข้างเล็กจะเพิ่มขึ้นเมื่อขนาดกระดองเพิ่มขึ้น พบปูก้ามดาบชนิดนี้เป็นกลุ่มเด่นในบริเวณดินทราย รยางค์ที่ใช้ในการกินอาหารส่วน maxilliped คู่ที่ 3 จะมีความกว้างมาก setae ที่อยู่บน maxilliped คู่ที่ 2 และ maxilliped คู่ที่ 1 จะทำหน้าจะช่วยให้อนุภาคอ่อนนุ่มที่อยู่กับอาหารหลุดออกแล้วส่งเข้าสู่หลอดอาหาร จึงมีการปรับ setae ที่อยู่บนรยางค์ปากให้มีลักษณะเป็นช้อนและขอบหยักขนาดใหญ่ (plumose setae with reduce small spoon-tip) จำนวนมากทำให้เหมาะสมต่อการอยู่รอดในอนุภาคดินทราย ซึ่งมีอนุภาคขนาดใหญ่ ใน U. vocans ซึ่งกินอาหารในบริเวณดอนโคลนปนทรายอนุภาคดินมีขนาดเล็ก ส่วนของ dactylus และ propodus สั้นกว่า U. perplexa แต่ส่วนของ gape จะกว้าง และมีความสูงของส่วนปลายก้ามข้างเล็กน้อยกว่า รยางค์ส่วน maxilliped คู่ที่ 3 จะแคบและมี setae ลักษณะเป็นแบบขนนก (plumose setae) จำนวนมากเพื่อทำหน้าที่ในการกรองอินทรีย์สารจากอนุภาคดินตะกอนที่มีขนาดเล็กจากการศึกษาชีววิทยาสืบพันธุ์พบว่า อัตราส่วนระหว่างเพศผู้และเพศเมียใน U. perplexa และ U. vocans เท่ากับ 1:0.42 และ 1:0.60 ตามลำดับ การเจริญของอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของปูก้ามดาบเมื่อพิจารณาจากลักษณะทางสัณฐานและลักษณะทางเนื้อเยื่อจำแนกการเจริญของรังไข่ได้ 5 ระยะ ส่วนการเจริญของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้พบเซลล์สืบพันธุ์ 3 ระยะ พบว่าปูก้ามดาบทั้งสองชนิดมีการวางไข่ตลอดทั้งปี ปูก้ามดาบ U. perplexa มีการวางไข่มาก 2 ช่วงคือ เดือนพฤศจิกายนและเดือนสิงหาคม โดยอัตราการวางไข่สูงสุดพบในช่วงเดือนสิงหาคม ขนาดความกว้างกระดองของปูเพศเมียที่เริ่มสมบูรณ์เพศคือ 8.80 มิลลิเมตร ส่วน U. vocans มีการวางไข่มาก 2 ช่วงคือ เดือนพฤศจิกายนและเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนซึ่งเป็นช่วงที่มีอัตราการวางไข่สูงสุด ขนาดความกว้างกระดองของปูเพศเมียที่เริ่มสมบูรณ์เพศคือ 9.50 มิลลิเมตร การที่ปูก้ามดาบ 2 ชนิดซึ่งใช้พื้นที่อาศัยและวางไข่สืบพันธุ์ในบริเวณเดียวกันแต่มีช่วงอัตราวางไข่สูงสุดแตกต่างกันเป็นการแบ่งส่วนการใช้ทรัพยากรเพื่อการสืบพันธุ์ จากการศึกษาการกระจายของปูก้ามดาบสกุล Uca บริเวณคลองสิเกา จังหวัดตรัง พบว่า U. perplexa สามารถกระจายได้ทุกสถานีที่ทำการศึกษา ทั้งบริเวณที่มีร่มเงาของพรรณไม้ป่าชายเลนและที่ค่อนข้างโล่งแจ้ง ตลอดจนกระจายได้ทั้งเขตตอนบนที่ติดต่อกับป่าบกจนถึงบริเวณตอนล่างของชายหาดติดทะเล ลักษณะดินตะกอนที่พบปูก้ามดาบชนิดนี้มักเป็นดินทราย ส่วน U. vocans สามารถกระจายได้ในบริเวณที่จำกัดพบได้เฉพาะในบริเวณอ่าวบุญคงซึ่งมีการรบกวนสูง โดยพื้นที่เป็นที่โล่งและมีการเปลี่ยนแปลงสภาพดินเป็นดินโคลนปนทราย
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ