![]() |
ผลของการใช้รูปแบบการสอนสี่ขั้นตอนตามแนวคอนสตรักติวิสต์ ที่มีต่อมโนทัศน์เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก และทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ผลของการใช้รูปแบบการสอนสี่ขั้นตอนตามแนวคอนสตรักติวิสต์ ที่มีต่อมโนทัศน์เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก และทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น |
Creator | มาลีรัตน์ กระต่ายทอง |
Contributor | วัชราภรณ์ แก้วดี |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ทฤษฎีสรรคนิยม, วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์, Constructivism (Education), Science -- Study and teaching (Secondary), Science process skills |
Abstract | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบมโนทัศน์เรื่องกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลกของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ระหว่างก่อนกับหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนสี่ขั้นตอนตามแนวคอนสตรักติวิสต์ 2) เปรียบเทียบมโนทัศน์เรื่องกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลกของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น หลังเรียนระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนสี่ขั้นตอนตามแนวคอนสตรักติวิสต์ กับกลุ่มที่เรียนโดยใช้การเรียนการสอนแบบปกติ 3) เปรียบเทียบทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นระหว่างก่อนกับหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการสอนสี่ขั้นตอนตามแนวคอนสตรักติวิสต์ 4) เปรียบเทียบทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น หลังเรียนระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนสี่ขั้นตอนตามแนวคอนสตรักติวิสต์ กับกลุ่มที่เรียนโดยใช้การเรียนการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหัวหินวิทยาลัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 2 ห้อง โดยกำหนดเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนสี่ขั้นตอนตามแนวคอนสตรักติวิสต์ และกลุ่มเปรียบเทียบ 1 ห้อง เรียนโดยใช้การเรียนการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดมโนทัศน์เรื่องกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลกซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.92 ค่าความยากง่ายอยู่ในช่วง 0.49-0.77 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.23-0.67 และ 2) แบบวัดทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.85 ค่าความยากง่ายอยู่ในช่วง 0.26-0.68 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.39-0.63 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์เรื่องกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลกหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน 2. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์เรื่องกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลกหลังเรียน สูงกว่านักเรียนกลุ่มเปรียบเทียบ 3. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน 4. นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูลหลังเรียน สูงกว่านักเรียนกลุ่มเปรียบเทียบ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |