แนวทางการพัฒนารูปแบบสื่อใหม่สำหรับผู้พิการทางการมองเห็นในกลุ่มเจเนอเรชันวาย
รหัสดีโอไอ
Title แนวทางการพัฒนารูปแบบสื่อใหม่สำหรับผู้พิการทางการมองเห็นในกลุ่มเจเนอเรชันวาย
Creator อุบลศรี รัตนภพ
Contributor ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword คนตาบอด, เจนเนอเรชันวาย, การสื่อสารแบบสื่อประสม, สื่ออิเล็กทรอนิกส์, เทคโนโลยีสารสนเทศ
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพและรูปแบบการนำเสนอสื่อใหม่ที่ผู้พิการทางการมองเห็นในกลุ่มเจเนอเรชันวายเปิดรับ (2) ศึกษาความต้องการของผู้พิการทางการมองเห็น ในกลุ่มเจเนอเรชันวายที่มีต่อสื่อใหม่ (3) นำเสนอแนวทางการพัฒนารูปแบบสื่อใหม่ที่สอดคล้องกับ ความต้องการของผู้พิการทางการมองเห็นในกลุ่มเจเนอเรชันวาย โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาสื่อใหม่ จำนวน 3 รายการ ร่วมกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อใหม่สำหรับผู้พิการทางการมองเห็น จำนวน 7 ท่าน และการสนทนากลุ่มผู้พิการทางการมองเห็น จำนวน 3 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ราย ผลการวิจัยพบว่า สภาพและรูปแบบการนำเสนอสื่อใหม่ที่มีอยู่ในทุกวันนี้ยังไม่เอื้อต่อการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ของผู้พิการทางการมองเห็นในกลุ่มเจเนอเรชันวายนัก เพราะแม้จะมีเนื้อหา ที่สอดคล้องกับความต้องการ แต่ผู้พิการทางการมองเห็นมีข้อจำกัดในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จาก สื่อเหล่านั้น ทั้งในด้านการออกแบบเว็บไซต์และเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีการจัดวางองค์ประกอบซับซ้อน มีรูปภาพที่เครื่องอ่านเสียงไม่สามารถอ่านได้ ฯลฯ ด้านการติดตั้งโปรแกรมอ่านจอภาพ ที่ยังไม่เพียงพอทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ ทั้งนี้ผู้พิการทางการมองเห็นในกลุ่มเจเนอเรชันวาย มีความต้องการเข้าถึงและใช้ประโยชน์สื่อใหม่เช่นเดียวกับผู้ที่ไม่มีความพิการทางการมองเห็น แต่เนื่องจากปัญหาดังกล่าวทำให้ผู้พิการทางการมองเห็นไม่สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์สื่อใหม่ ได้อย่างเต็มที่ ฉะนั้นแนวทางการพัฒนารูปแบบสื่อใหม่ที่สอดคล้องกับความต้องการของ ผู้พิการทางการมองเห็นในกลุ่มเจเนอเรชันวายคือการปรับรูปแบบการนำเสนอให้เรียบง่าย มีคำอธิบายรูปภาพประกอบ มีเสียงประกอบ แต่ต้องไม่เป็นการเล่นเสียงแบบอัตโนมัติ เพราะจะกระทบต่อโปรแกรมอ่านหน้าจอ กล่าวคือเสียงที่เล่นอัตโนมัติจะรบกวนเนื้อหาที่โปรแกรมอ่านหน้าจอกำลังอ่าน นอกจากนี้ควรพัฒนาโปรแกรมอ่านหน้าจอให้ดียิ่งขึ้นและติดตั้งทั่วถึงขึ้น แต่ก่อนที่จะพัฒนารูปแบบ สื่อใหม่ตามแนวทางดังกล่าว สิ่งสำคัญที่สุดคือทุกคนในสังคมควรตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของผู้พิการทางการมองเห็น ซึ่งการตระหนักนี้จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนารูปแบบสื่อใหม่ เพื่อผู้พิการทางการมองเห็นได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ