![]() |
มาตรฐานขั้นต่ำในการปรับปรุงหอพักในมหาวิทยาลัยที่เอื้อต่อนักศึกษาพิการ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | มาตรฐานขั้นต่ำในการปรับปรุงหอพักในมหาวิทยาลัยที่เอื้อต่อนักศึกษาพิการ |
Creator | สโรชา มังคลา |
Contributor | ไตรรัตน์ จารุทัศน์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | หอพัก, นักศึกษาพิการ, สถาบันอุดมศึกษา -- อาคาร |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาปัจจัยความจำเป็นและความต้องการในการอยู่อาศัย โดยการสำรวจกิจกรรมและการใช้พื้น ที่ในการ พักอาศัยในหอพัก สภาพปัญหาในการอยู่อาศัยที่สำคัญที่เร่งด่วนต่อการปรับปรุง เพื่อนำไปสู่การนำเสนอแนวทางการปรับปรุงหอพักที่ มีอยู่เดิมทั้งในด้านกายภาพและระบบการให้บริการ โดยนำหลักเกณฑ์มาตรฐานขั้น ที่พัฒนาแล้วที่ใช้ทฤษฎีด้านการดำรงชีวิตอยู่อย่าง อิสระของคนพิการและแนวคิดการออกแบบเพื่อคนทั้ง มวลที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของนักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษา มาสังเคราะห์ เพื่อเสนอเป็น “มาตรฐานขั้นต่ำในการปรับปรุงหอพักในมหาวิทยาลัยที่เอื้อต่อนักศึกษาพิการ” จากการศึกษากิจกรรมและการใช้พื้นที่ พบว่านักศึกษาพิการแต่ละประเภทมีกิจกรรมหลักและรองที่เหมือนกับนักศึกษาที่ ไม่ได้พิการ โดยมีบางกิจกรรมที่ใช้เวลามากกว่านักศึกษาที่ไม่ได้พิการ โดยนักศึกษาที่พิการทางด้านการมองเห็นจะใช้เวลาในการนอน และการเตรียมตัวก่อนออกไปเรียนมากกว่านักศึกษาทั่วไป 2 ชั่วโมงต่อวัน นักศึกษาที่พิการทางการเคลื่อนไหวจะใช้เวลาในการอาบน้ำ และแต่งตัวมากกว่านักศึกษาทั่วไป 50 นาทีต่อวัน นักศึกษาที่พิการทางการได้ยินจะใช้เวลาในการทำงานและอ่านหนังสือมากกว่า นักศึกษาทั่วไป 3 ชั่วโมงต่อวัน จากการศึกษาสภาพปัญหาการอยู่อาศัยโดยการวิเคราะห์เส้นทางการสัญจร และช่วงเวลาการปรับตัวในการอยู่อาศัย โดย แบ่งกลุ่มปัญหาตามประเภทของความพิการของนักศึกษา พบว่านักศึกษาที่พิการทางการมองเห็นบางส่วนยังมีปัญหาในส่วน เส้นทางการสัญจรที่บริเวณโถงหอพักที่มีวัตถุที่วางไม่แน่นอนและเปลี่ยนตำแหน่งตลอดเวลา อย่างรถจักรยาน ส่วนใหญ่สามารถอยู่ อาศัยจนมีประสบการณ์จดจำการใช้พื้น โดยไม่มีปัญหา เมื่อพักอาศัยไปแล้ว เฉลี่ยที่ 12 เดือน นักศึกษาที่พิการทางการ เคลื่อนไหว สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มที่จำเป็นต้องใช้รถเข็นและกลุ่มที่ไม่จำเป็นต้องใช้รถเข็น กลุ่มแรกมีปัญหาในส่วน ช่องทางการเดินทางเข้าสู่อาคารหอพักมากที่สุดและต้องอาศัยผู้ช่วยในการเข้าในอาคารหอพัก กลุ่มที่ไม่จำเป็นต้องใช้รถเข็นจะมี ปัญหาที่บริเวณห้องน้ำมากที่สุด คือมีการเกิดอุบัติเหตุเหตุจากการลื่นล้ม และการทรงตัวยืน ตามลำดับและจะปรับตัวให้อยู่อาศัยได้ โดยไม่มีปัญหา เฉลี่ยใช้ระยะเวลา 3 เดือน และนักศึกษาพิการทางการได้ยินจะมีปัญหาจากการสื่อสารเวลามีผู้มาเยี่ยมเยือนและ การแจ้งเตือนจากอุบัติภัยมากที่สุดตามลำดับ และจะปรับตัวให้อยู่อาศัยได้โดยไม่มีปัญหา เฉลี่ยใช้ระยะเวลา 1 เดือน สามารถ อภิปรายผลการศึกษาได้ว่าการอยู่อาศัยของนักศึกษาพิการร่วมกับนักศึกษาที่ไม่ได้พิการ สามารถมีส่วนช่วยต่อการปรับตัวให้เข้ากับที่ อยู่อาศัยใหม่ได้ โดยไม่จำเป็นต้องจัดนักศึกษาพิการอยู่ด้วยกันหรือจัดให้มีนักศึกษาอาสาสมัครมาดูแลเป็นพิเศษข้อเสนอแนะจากการนำมาตรฐานขั้น ที่พัฒนาแล้วสำหรับหอพักนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศ การสำรวจ ข้อมูลกรณีศึกษาหอพักที่ออกแบบให้เอื้อ ต่อนักศึกษาพิการอันเป็นที่ยอมรับจากผู้เชี่ยวชาญและกฎกระทรวงการกำหนดสิ่งอำนวยความ สะดวกสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพและคนชรา พ.ศ.2548 มาวิเคราะห์ประกอบกับปัจจัยจากนักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษาของ ไทย พบว่ามาตรฐานขั้นต่ำที่ควรปรับปรุงมี 4 ระยะ คือระยะที่หนึ่งคือการปรับปรุงเร่งด่วนเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ คือ ทางเข้าสู่ อาคารทางเดิน ห้องน้ำ ระบบความปลอดภัย ระยะที่สองคือการปรับปรุงเพื่อป้องการก่อกำเริบของโรคจากความพิการ คือ ไฟฟ้ า และแสงสว่าง ระยะที่สามคือการปรับปรุงตามความจำเป็นทางร่างกาย คือ จุดพักรถ โถงหลักของอาคารหอพัก ลิฟต์และบันได ห้องพัก และระยะที่สี่คือการปรับปรุงเพื่อความต้องการทางจิตใจคือการปรับปรุงระบบการให้บริการ และมีเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความ สะดวกที่ควรนำมาใช้ใน เรื่องความปลอดภัย ได้แก่ กริ่งเรียกสำหรับนักศึกษาที่พิการทางการได้ยิน สวิตซ์แบบมีสายดึงที่ติดในห้องน้ำ และในห้องพักสำหรับการขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน ในเรื่องการเข้าถึงพื้น ที่ต่างๆได้แก่ รถบริการที่มีทางลาดสำหรับรถเข็น รถจักรยานยนต์ที่มีการต่อเติมให้นักศึกษาที่ใช้รถเข็นใช้งานได้ การใช้โคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์ส่องสว่างทางเดินแก่นักศึกษาที่ สายตาเลือนราง ไม้เท้าสำหรับขึ้น ลงบันได รางรอกในห้องพัก เฟอร์นิเจอร์ในห้องพักต่างๆ มีกลไกลปรับระดับความสูงต่ำเพื่อการใช้ งานของทัง้ นักศึกษาพิการและไม่ได้พิการ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |