![]() |
การศึกษาและทดสอบปัจจัยเชิงสาเหตุของการใช้ประโยชน์งานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย: การวิจัยแบบผสมวิธี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การศึกษาและทดสอบปัจจัยเชิงสาเหตุของการใช้ประโยชน์งานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย: การวิจัยแบบผสมวิธี |
Creator | ศิวะพร ภู่พันธ์ |
Contributor | ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ, สุวิมล ว่องวาณิช |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- อาจารย์, อาจารย์มหาวิทยาลัย -- วิจัย, วิจัย -- การใช้ประโยชน์, วิจัยแบบผสมผสาน |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของการใช้ประโยชน์งานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยและพัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัย (2) พัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวัดการใช้ประโยชน์งานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย และ (3) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการใช้ประโยชน์งานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย และศึกษาโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการใช้ประโยชน์งานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี แบบลำดับเวลา โดยใช้ลักษณะของการออกแบบการสำรวจ – รูปแบบการพัฒนาเครื่องมือ (exploratory sequential instrument mixed method design) ระยะเริ่มต้น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเบื้องต้น โดยการวิจัยเอกสาร ประกอบด้วย ตำราและบทความวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์งานวิจัย ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ ผู้ให้สัมภาษณ์ คือ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อความ (textual analysis) ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนากรอบแนวคิดในการวิจัยและพัฒนาข้อคำถาม ในการวิจัยเชิงปริมาณ และ ระยะที่ 3 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ อาจารย์คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จำนวน 17 แห่ง จำนวน 500 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์สถิติบรรยายโดยใช้โปรแกรม SPSS for windows และวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรม LISREL ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ (1) ปัจจัยเชิงสาเหตุของการใช้ประโยชน์งานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย ที่นำมาพัฒนาเป็นกรอบแนวคิดในรูปแบบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการใช้ประโยชน์งานวิจัย ประกอบด้วย ตัวแปรแฝงภายนอก 2 ตัวแปร คือ (1) ตัวแปรปัจจัย เชิงบริบท วัดจากตัวแปรสังเกตได้ 3 ตัว คือ นโยบายด้านการวิจัยของหน่วยงาน การสนับสนุนของหน่วยงาน และบรรยากาศ การวิจัยของหน่วยงาน และ (2) ตัวแปรปัจจัยด้านคุณลักษณะงานวิจัย วัดจากตัวแปรสังเกตได้ 3 ตัว คือ คุณภาพของงานวิจัย ความทันสมัยของงานวิจัย และความสอดคล้องของงานวิจัยกับรายวิชาที่สอน สำหรับตัวแปรแฝงภายใน 2 ตัวแปร คือ (1) ตัวแปรปัจจัยเชิงบุคคล วัดจากตัวแปรสังเกตได้ 5 ตัว คือ เจตคติเชิงบวกต่องานวิจัย ความเป็นผู้มีใจเปิดกว้าง ความเป็นผู้มีความอยากรู้อยากเห็นทางวิชาการ ความสนใจในการศึกษางานวิจัย และความสนใจในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน และ (2) ตัวแปรการใช้ประโยชน์งานวิจัย วัดจากตัวแปรสังเกตได้ 2 ตัว คือ การใช้ประโยชน์งานวิจัยทางตรง และการใช้ประโยชน์งานวิจัยทางอ้อม (2) แบบสอบถามการใช้ประโยชน์งานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 43 ข้อ มีคุณภาพในด้านความตรงเชิงเนื้อหา ความตรงเชิงโครงสร้าง และความเที่ยง อยู่ในเกณฑ์ดี (3) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการใช้ประโยชน์งานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย มีความสอดคล้องกลมกลืน กับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( (17, N=500) = 12.956; p = 0.739; GFI = 0.996; AGFI = 0.979; RMR = 0.008) ปัจจัยเชิงบุคคลส่งอิทธิพลทางตรงสูงสุดต่อการใช้ประโยชน์งานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย และปัจจัยเชิงบริบท ส่งอิทธิพลทางอ้อมสูงสุดต่อการใช้ประโยชน์งานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย ผ่านปัจจัยเชิงบุคคล |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |