การนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนศิลปวิจารณ์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการคิดขั้นสูงของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษา ระดับปริญญาตรี
รหัสดีโอไอ
Title การนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนศิลปวิจารณ์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการคิดขั้นสูงของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษา ระดับปริญญาตรี
Creator ธนวัฒน์ กันภัย
Contributor อภิชาติ พลประเสริฐ, ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword ศิลปวิจารณ์, กิจกรรมการเรียนการสอน, ศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน, ทักษะทางการคิด
Abstract งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาการคิดขั้นสูงในวิชาศิลปวิจารณ์ของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษา ระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ อาจารย์ผู้สอนวิชาศิลปวิจารณ์ 4 คน นักศึกษาที่กำลังเรียนในวิชาศิลปวิจารณ์ 17 คน ผู้เชี่ยวชาญการจัดการเรียนการสอนด้านศิลปศึกษา 5 คน นักวิจารณ์ศิลปะ 5 คน และศิลปิน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอน แบบสัมภาษณ์นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาศิลปวิจารณ์ ในภาคเรียนที่ 1/2554 แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญการจัดการเรียนการสอนด้านศิลปศึกษา แบบสัมภาษณ์นักวิจารณ์ศิลปะ แบบสัมภาษณ์ศิลปิน แบบสังเกตกิจกรรมการเรียนการสอน ในรายวิชาศิลปวิจารณ์ และแบบการวิจารณ์ศิลปะสำหรับนักศึกษาเพื่อวัดความสามารถในการคิดขั้นสูง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ความถี่ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านวัตถุประสงค์ควรกำหนดให้นักศึกษาสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์ศิลปะโดยบูรณาการความรู้ในศาสตร์สาขาต่างๆ ได้ 2) ด้านเนื้อหาสาระต้องบูรณาการความรู้ด้านศิลปวิจารณ์ให้เชื่อมโยงกับศาสตร์ด้านต่างๆ เช่นประวัติศาสตร์ศิลป์ ปรัชญา และหลักการทางศิลปะ 3)ด้านกิจกรรมและกระบวนการเรียนการสอนควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น เน้นให้เกิดสังคมการวิจารณ์ในชั้นเรียน 4) ด้านวิธีสอนควรให้นักศึกษาเป็นศูนย์กลาง เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นอยู่ตลอดเวลา มีการใช้รูปแบบวิธีการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการคิดของนักศึกษา เช่น การสอนมโนทัศน์ การสอนกระบวนการสืบสอบและหาความรู้เป็นกลุ่ม การสอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์ สื่อที่ใช้ประกอบการสอน ได้แก่ผลงานจริง และบทวิจารณ์ศิลปะ 5) ด้านการวัดและประเมินผลควรประเมินความสามารถในการแสดงออกทางความคิดเห็น การคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ผ่านการพูดปากเปล่าและงานเขียนวิจารณ์ศิลปะ โดยผู้สอนสร้างเครื่องมือการประเมินการวิจารณ์โดยตั้งเกณฑ์ยึดตามกระบวนการคิดขั้นสูงได้แก่ ขั้นการประยุกต์, ขั้นการวิเคราะห์, ขั้นการประเมินผล จนถึงขั้นการสร้างความรู้ 6) ด้านผู้สอนควรมีลักษณะของนักจัดอภิปราย เป็นผู้ฟังที่ดี และรู้จริงในเรื่องศิลปวิจารณ์ 7) ด้านผู้เรียนควรมีลักษณะของผู้แสดงความคิดเห็น และผู้ฟังที่ดี 8) บรรยากาศการเรียนการสอนควรมีการจัดการเรียนการสอนในลักษณะการสัมมนาในบรรยากาศที่เป็นกันเอง นอกจากนี้นักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษาต้องมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ