![]() |
กระบวนการเกิดและการเปลี่ยนแปลงตลาดน้ำในบริบทสวน พื้นที่ดินดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | กระบวนการเกิดและการเปลี่ยนแปลงตลาดน้ำในบริบทสวน พื้นที่ดินดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก |
Creator | ลักษณา สัมมานิธิ |
Contributor | วรรณศิลป์ พีรพันธุ์, ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ตลาดน้ำ, การพัฒนาชุมชน, การเปลี่ยนแปลงทางสังคม |
Abstract | การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการเกิดและการเปลี่ยนแปลงตลาดน้ำ พื้นที่สวนในบางกอก สวนนอกบางช้าง ดินดอนปากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก สมมุติฐานวิจัยคือ การเกิดขึ้นของตลาดน้ำเป็นผลมาจากที่ตั้งภูมิศาสตร์ การตั้งถิ่นฐาน การทำสวนยกร่อง เกิดเป็นโครงข่ายทางน้ำที่พัฒนาเป็นศูนย์กลางตลาดน้ำที่มีประสิทธิภาพการเข้าถึงจากพื้นที่โดยรอบสูง การเปลี่ยนแปลงตลาดน้ำเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสัณฐานพื้นที่ไปเป็นการสัญจรทางบกอย่างเป็นเงื่อนไขกับผู้กระทำและการท่องเที่ยว ใช้แนวคิดกระบวนการเกิดสัณฐานพื้นที่ศูนย์กลางของสัณฐานวิทยาเมืองร่วมกับแนวคิดสังคมวัฒนธรรม วิธีวิจัยใช้การศึกษาวิเคราะห์เอกสารและแผนที่วิเคราะห์โครงสร้างและลักษณะสัณฐานพื้นที่ด้วยภูมิสารสนเทศ และแบบจำลองเชิงพื้นที่ และเลือกตลาดน้ำอัมพวา ตลาดน้ำท่าคา และตลาดน้ำดำเนินสะดวก เพื่อวิเคราะห์ในรายละเอียด โดยการสำรวจ การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์ ผลวิจัยพบว่าศูนย์กลางตลาดน้ำมีค่าเฉลี่ยศักยภาพเข้าถึงพื้นที่ สวนในบางกอก สวนนอกบางช้าง คือ 0.10470 และ 0.07223 เมื่อสัณฐานพื้นที่เปลี่ยนเป็นฐานบกมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น 0.10824 และ 0.08216 ปัจจุบันพื้นที่สวนในบางกอกเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นเมือง พื้นที่สวนนอกบางช้างสัณฐานพื้นที่ฐานบกยังมีความสัมพันธ์กับโครงข่ายสัญจรทางน้ำและการใช้ที่ดินสวน เป็นปัจจัยสำคัญในการฟื้นฟูชุมชนริมน้ำ การเกิดและการเปลี่ยนแปลงตลาดน้ำยังเป็นสัมพัทธสภาวะของภาวะสัณฐานพื้นที่ ภาวะตรรกะสังคมของพื้นที่ ภาวะเสริมสนับสนุน และภาวะหน้าที่ใช้สอย ทำให้ตลาดน้ำเกิดขึ้น สิ้นสุด เปลี่ยนแปลง และฟื้นฟูขึ้น ข้อค้นพบสำคัญยังพบว่าการเกิดและเปลี่ยนแปลงตลาดน้ำยังเป็นเงื่อนไขกับปัจจัยผู้กระทำ ที่ต้องนำมาพิจารณาเพิ่มเติมในการศึกษาตามแนวคิดสัณฐานวิทยาเมืองของการวิจัยนี้ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |