ผลของการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้เมตาคอกนิชันที่มีต่อมโนทัศน์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ และความสามารถในการคิดอย่างเป็นเหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
รหัสดีโอไอ
Title ผลของการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้เมตาคอกนิชันที่มีต่อมโนทัศน์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ และความสามารถในการคิดอย่างเป็นเหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Creator ปิยะมาศ บุญประกอบ
Contributor อลิศรา ชูชาติ
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา), เมตาคอคนิชัน, ความคิดและการคิด, Science -- Study and teaching ‪(Secondary)‬, Metacognition, Thought and thinking
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบมโนทัศน์เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ระหว่างก่อนและหลังเรียนของกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามวงจรการเรียนรู้เมตาคอกนิชัน (2) เพื่อเปรียบเทียบมโนทัศน์เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามวงจรการเรียนรู้เมตาคอกนิชันกับแบบปกติ (3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างเป็นเหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ระหว่างก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามวงจรการเรียนรู้เมตาคอกนิชัน และ (4) เพื่อเปรียบเทียบความสมารถในการคิดอย่างเป็นเหตุผลระหว่างกลุ่มที่ได้รับการเรียนการสอนตามวงจรการเรียนรู้เมตาคอกนิชันกับแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดบวรนิเวศที่เรียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ (1) แบบวัดมโนทัศน์เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ (2) แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างเป็นเหตุผล ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนกลุ่มที่เรียนโดยใช้วงจรการเรียนรู้เมตาคอกนิชันมีคะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนกลุ่มที่เรียนโดยใช้วงจรการเรียนรู้เมตาคอกนิชันมีคะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่สูงกว่านักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนกลุ่มที่เรียนโดยใช้วงจรการเรียนรู้เมตาคอกนิชัน มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดอย่างเป็นเหตุผลหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนกลุ่มที่เรียนโดยใช้วงจรการเรียนรู้เมตาคอกนิชัน มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดอย่างเป็นเหตุผล สูงกว่านักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ