![]() |
การพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาบทบาทสถาบันอุดมศึกษาด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาบทบาทสถาบันอุดมศึกษาด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม |
Creator | สุมิตรา วิริยะ |
Contributor | อัจฉรา ไชยูปถัมภ์, วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม, ศิลปวัฒนธรรม, สถาบันอุดมศึกษา -- บริการสังคม |
Abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและบทบาท วิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อประสิทธิผลการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษา 19 สถาบัน จำนวน 240 คน และกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยใช้เทคนิคสวอทเมตริกซ์ (SWOT Matrix Analysis) ตรวจสอบร่างกลยุทธ์โดยการจัดประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ (Connoisseurship) ผลการวิจัยพบว่า สถานภาพองค์กรด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของสถาบันอุดมศึกษา ส่วนใหญ่เป็นศูนย์ศิลปวัฒนธรรมที่มหาวิทยาลัยจัดตั้ง เพื่อดำเนินงานอนุรักษ์ สืบสาน และสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรม โดยกระบวนการศึกษาค้นคว้า วิจัย และเผยแพร่ ลักษณะที่ทำการเป็นห้องปฏิบัติงาน เนื้องานที่นำเสนอคือวิถีชีวิตชุมชน ปัญหาที่เกิดขึ้นมากที่สุดคือ ขาดความสนใจระดับผู้นำรัฐบาล ขาดบุคลากร ขาดงบประมาณ บทบาทสถาบันอุดมศึกษาต้องกำหนดให้สอดคล้องกับนโยบายระดับชาติ ในเรื่องการส่งเสริม สนับสนุน รวมไปถึงการจัดกิจกรรมด้านนี้คือภารกิจสำคัญเท่าเทียมกับภารกิจด้านอื่น ๆ ของสถาบันอุดมศึกษา ปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทพบว่าปัจจัยทั้ง 36 ปัจจัย มีระดับการส่งผลต่องานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในระดับปานกลางถึงมาก ( 3.35 - 4.43 , SD 0.475 - 1.207) วิเคราะห์องค์ประกอบได้ 10 องค์ประกอบ อธิบายความแปรปรวนร่วม (Eigenvalues) ได้ร้อยละ 89.107 กลยุทธ์การพัฒนาบทบาทของสถาบันอุดมศึกษาด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 4 ด้าน คือ ด้านนโยบาย 1) การสร้างความเข้าใจในองค์กร จัดทำแผน 10 ปีอย่างที่มีทิศทางและเห็นความต่อเนื่อง 2)การเพิ่มการยอมรับในระดับนานาชาติ 3) ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม มีสำนึกและ จิตวิญญาณด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านบุคลากร 1) องค์กรแห่งการเรียนรู้ด้วยแนวทางชุมชนนักปฏิบัติ 2) การพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคล (Individual Development Plan: IDP) ด้านการพัฒนา 1) ลงพื้นที่เรียนรู้วิถีชุมชน 2)ขยายบริการทางวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรม 3)รวบรวมเอกสารข้อมูล จัดเก็บองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ 4)พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล โปร่งใส 5) มีทรัพยากรเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้านกลยุทธ์ 1)สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านศิลปวัฒนธรรม 2)สร้างมาตรฐานการปฏิบัติงานและการประเมินผล 3)สร้างระบบประเมินและบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม รวม 13 กลยุทธ์ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |