ยุทธศาสตร์การสื่อสารเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันอุตสาหกรรมการจัดประชุม และนิทรรศการเชิงสร้างสรรค์ของไทย
รหัสดีโอไอ
Title ยุทธศาสตร์การสื่อสารเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันอุตสาหกรรมการจัดประชุม และนิทรรศการเชิงสร้างสรรค์ของไทย
Creator ตรรกะ เทศศิริ
Contributor รุ้ง ศรีอัษฎาพร
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword การสื่อสาร, การแข่งขันทางการค้า, การพัฒนาอุตสาหกรรม, การประชุม, นิทรรศการ
Abstract การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสภาพปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ค้นหาดรรชนีชี้วัดความสามารถในการสื่อสาร และกำหนดยุทธศาสตร์การสื่อสารเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันอุตสาหกรรมการจัดประชุมและนิทรรศการเชิงสร้างสรรค์ของไทย ผู้วิจัยดำเนินการศึกษาโดยเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้บริหารและพนักงานอาวุโสในองค์กรรัฐและเอกชนด้านการจัดประชุมและนิทรรศการ (MICE) จำนวน 24 คน และ เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพเพิ่มเติมจากการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมในทีมสร้างสรรค์การจัดงานจริง จากนั้นผู้วิจัยนำข้อมูลเชิงคุณภาพมาสร้างแบบสำรวจความคิดเห็นเพื่อเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากบุคลากรที่ทำงานในภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ MICE จำนวน 264 คนผลการศึกษาวิจัยพบว่าอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการจัดประชุมและนิทรรศการเชิงสร้างสรรค์ของไทยที่พบว่าเป็นปัญหามากที่สุดไปจนถึงน้อยที่สุด ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการ 2) ด้านนโยบาย 3) ด้านจริยธรรม 4) ด้านการสื่อสาร และ 5) ด้านคุณภาพ ตามลำดับ ดรรชนีชี้วัดความสามารถในการสื่อสารเพื่อพัฒนาการจัดประชุมและนิทรรศการเชิงสร้างสรรค์มีทั้งหมด 36 ดรรชนี ประกอบด้วยดรรชนีชี้วัดระดับบุคคล 13 ดรรชนี (ได้แก่ การเปิดรับความคิดสร้างสรรค์ของผู้อื่น ความสามารถในการแสดงความคิดเห็นและสร้างการยอมรับจากผู้อื่น และความสามารถในการนำเสนองานให้น่าสนใจแก่ลูกค้า เป็นต้น) ดรรชนีชี้วัดระดับกลุ่ม 12 ดรรชนี (ได้แก่ ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจในความต้องการของผู้จัดงานร่วมกันในทีม ความสามารถในการระดมความคิดสร้างสรรค์ได้หลากหลายในทีม และความสามารถใช้เหตุผลร่วมกันในทีมเพื่อหาข้อสรุป เป็นต้น) และดรรชนีชี้วัดระดับองค์กร 11 ดรรชนี (ได้แก่ ความสามารถในการสร้างบรรยากาศการสื่อสารที่ให้อิสระเปิดกว้างทางความคิดภายในองค์กร โครงสร้างการสื่อสารตามลำดับสายการบังคับบัญชาไม่ซับซ้อน และวัฒนธรรมการสื่อสารในองค์กรที่ให้คุณค่าและความสำคัญต่อความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น)ยุทธศาสตร์การสื่อสารเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันเชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์การสื่อสารด้านการดึงงานระดับโลกมาจัดในประเทศ ยุทธศาสตร์การสื่อสารด้านการพัฒนาปัจจัยสนับสนุนการสร้างสรรค์ของอุตสาหกรรม และ ยุทธศาสตร์การสื่อสารด้านการประชาสัมพันธ์ให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งการจัดประชุมและนิทรรศการเชิงสร้างสรรค์ที่น่าสนใจในระดับโลก
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ