![]() |
การพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมเชิงสมรรถนะ เพื่อพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพของตัวแทนประกันวินาศภัย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมเชิงสมรรถนะ เพื่อพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพของตัวแทนประกันวินาศภัย |
Creator | เอกจิตตรา ใหญ่สว่าง |
Contributor | วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา, พร ศรียมก |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | การศึกษาต่อเนื่อง, การศึกษาแบบสามัตถิยฐาน, การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง, การฝึกอบรม, การพัฒนาอาชีพ, ประกันวินาศภัย, ตัวแทนประกันภัย, Continuing education, Competency-based education, Self-directed learning, Training, Career development, Insurance, Insurance agents |
Abstract | การวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมเชิงสมรรถนะครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสมรรถนะในการประกอบอาชีพของตัวแทนประกันวินาศภัย (2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมเชิงสมรรถนะ เพื่อพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพของตัวแทนประกันวินาศภัย (3) เพื่อศึกษาผลของการนำโปรแกรมการฝึกอบรมเชิงสมรรถนะที่พัฒนาขึ้นไปใช้ (4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยสนับสนุน ปัญหาและอุปสรรคในการนำโปรแกรมการฝึกอบรมเชิงสมรรถนะที่ได้พัฒนาขึ้นไปใช้ รูปแบบของการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 4 ระยะคือ ระยะแรก ศึกษาสมรรถนะในการประกอบอาชีพเพื่อพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพของตัวแทนประกันวินาศภัย ระยะที่สองพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมเชิงสมรรถนะ เพื่อพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพของตัวแทนประกันวินาศภัยจากสมรรถนะที่ต้องปฎิบัติ ระยะที่สาม ศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกอบรมเชิงสมรรถนะที่พัฒนาขึ้น กับตัวแทนประกันวินาศภัย จำนวน 34 คน ระยะที่สี่ ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยสนับสนุน ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข ในการนำโปรแกรมการฝึกอบรมเชิงสมรรถนะไปทดลองใช้ โดยการสอบถามความคิดเห็น จากผู้เข้าฝึกอบรม และผู้สอนประจำกลุ่ม ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ผลการศึกษาสมรรถนะในการประกอบอาชีพของตัวแทนประกันวินาศภัยตามแนวคิดการฝึกอบรมเชิงสมรรถนะของ Blank (1982) ทั้ง 12 ขั้นตอนพบว่า สมรรถนะในการประกอบอาชีพของตัวแทนประกันวินาศภัย ทั้ง 5 ด้าน คือ (1) ความรู้ในด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตัวแทนประกันวินาศภัย (2) ความรู้ในด้านภาพรวมของธุรกิจประกันวินาศภัยและสรุปสาระสำคัญของการประกันวินาศภัย (3) ทักษะในด้านแนวทางปฎิบัติในการขายและการให้คำแนะนำด้านการประกันวินาศภัย (4) ทัศนคติและจรรยาบรรณที่ดีในการให้บริการ (5) ความพร้อมในด้านการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง 2. การพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมเชิงสมรรถนะเพื่อพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพตัวแทนประกันวินาศภัย มีองค์ประกอบโปรแกรม 9 ด้าน คือ 1) เป้าหมาย 2) วัตถุประสงค์ 3) กลุ่มเป้าหมาย 4) หลักสูตรและเนื้อหา 5) สื่อการเรียนการสอน 6)กิจกรรมการเรียนรู้ 7) แหล่งความรู้ 8) สภาพแวดล้อม 9) การวัดและประเมินผล 3. ผลการทดลองของโปรแกรมการฝึกอบรมเชิงสมรรถนะ มีดังนี้ ตัวแทนประกันวินาศภัยมีสมรรถนะวิชาชีพ ทั้ง 4 ด้าน คือ 1) ความรู้ 2) ทักษะ 3) ทัศนคติ และ 4)ความพร้อมในด้านการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง หลังการเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกอบรมเชิงสมรรถนะ สูงกว่าก่อนร่วมโปรแกรมการฝึกอบรมเชิงสมรรถนะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นไปใช้ได้แก่ (1) ปัจจัยที่สนับสนุน คือ กิจกรรมการเรียนรู้กลุ่ม ที่มีการแบ่งปันประสบการณ์จากการเรียนรู้ร่วมกัน กลุ่มเป้าหมายได้พัฒนาสมรรถนะที่ตรงกับความจำเป็นที่ต้องปฏิบัติ หลักสูตรและเนื้อหาตรงความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ (2) ปัญหาและอุปสรรคคือ กลุ่มเป้าหมาย สื่อการเรียนการสอน กิจกรรมการเรียนรู้กลุ่ม แหล่งความรู้ และสภาพแวดล้อม |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |