![]() |
บุคลิกภาพและความคิดสร้างสรรค์ของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | บุคลิกภาพและความคิดสร้างสรรค์ของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร |
Creator | จักรพันธ์ จตุพรพันธ์ |
Contributor | ชัยชนะ นิ่มนวล, ติณพัฒน์ แก้วยอดทิวัตถ์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | นักศึกษา -- ไทย -- กรุงเทพฯ, บุคลิกภาพ, ความคิดสร้างสรรค์ |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยภาคตัดขวางเชิงพรรณนา (Cross-sectional descriptive study) เพื่อศึกษาลักษณะบุคลิกภาพและความคิดสร้างสรรค์ในนิสิตแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กำลังศึกษาในชั้นปีที่ 1-5 ในฐานะตัวอย่างของมหาวิทยาลัยรัฐบาล และนักศึกษาคณะต่างๆจากมหาวิทยาลัย เกษมบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 ในฐานะตัวอย่างของมหาวิทยาลัยเอกชน และใช้แทนนิสิตนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครโดยคร่าวๆ จำนวน 1,080 คน และเพื่อประเมินคุณภาพของเครื่องมือวัดบุคลิกภาพ IPIP (International Personality Item Pool) ฉบับภาษาไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามทั่วไป เครื่องมือวัดบุคลิกภาพ IPIP ฉบับภาษาไทยและแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ที่พัฒนาโดยจุฑามาศ นาคนิยม พรรณนาลักษณะบุคลิกภาพและความคิดสร้างสรรค์โดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้ Pearson Correlation Coefficient เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบด้านต่างๆของบุคลิกภาพกับความคิดสร้างสรรค์ สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงปริมาณอื่นๆ ใช้ Independence t-test หรือ One-way ANOVA ตามประเภทของข้อมูล ผลการศึกษาพบว่าเครื่องมือวัดบุคลิกภาพ IPIP ฉบับภาษาไทยมีความเที่ยงชนิดความสอดคล้องภายใน มีค่าครอนบาคอัลฟาที่ .69 - .90 และชนิดทดสอบซ้ำ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ .66 - .89 มีความตรงเชิงเนื้อหาโดยการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญและความตรงเชิงโครงสร้างโดย Factor Analysis ได้ 11องค์ประกอบย่อยและ 4 องค์ประกอบหลัก กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามีบุคลิกภาพหลักที่ค่าคะแนนสูงสุดคือมีวินัย รับผิดชอบ ค่าคะแนน 58.3 (จาก 100) ส่วนความคิดสร้างสรรค์ด้านการปรับแต่ง/ละเอียดลออ มีค่าคะแนน 24.7 ซึ่งสูงกว่าด้านความคิดริเริ่ม/รวดเร็ว นอกจากนั้นยังพบว่าบุคลิกภาพด้านสติปัญญาสัมพันธ์กับความคิดสร้างสรรค์ทั้งด้านความคิดริเริ่ม/รวดเร็ว และด้านปรับแต่ง/ละเอียดลออ อยู่ในระดับค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตามการนำผลไปประยุกต์ใช้ จำเป็นต้องคำนึงถึงข้อจำกัดที่สำคัญคือกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้ไม่ใช่ตัวแทนของนิสิตนักศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร เนื่องจากไม่ได้สุ่มจากประชากรทั้งหมด |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |