กลไกการออกฤทธิ์ของสารประกอบคูมารินจากส่องฟ้าดง Clausena Harmandiana (Pierre) ในการยับยั้งวิถีการส่งสัญญาณของแคลเซียม ในยีสต์ Saccharomyces Cerevisiae
รหัสดีโอไอ
Title กลไกการออกฤทธิ์ของสารประกอบคูมารินจากส่องฟ้าดง Clausena Harmandiana (Pierre) ในการยับยั้งวิถีการส่งสัญญาณของแคลเซียม ในยีสต์ Saccharomyces Cerevisiae
Creator ปิติปรีญา เสืออ่วม
Contributor ชุลี ยมภักดี
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ, ส่องฟ้าดง (พืช), พืชสมุนไพร, สารประกอบคูมาริน
Abstract วิถีการส่งสัญญาณของแคลเซียมในสิ่งมีชีวิตชั้นสูงควบคุมกระบวนการทางชีวภาพที่สำคัญหลากหลายกระบวนการ สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่ยับยั้งวิถีการส่งสัญญาณของแคลเซียมได้ อาจนำไปพัฒนาเป็นยารักษาโรคต่างๆ ได้ อาทิ ยากดภูมิคุ้มกันและยาต้านมะเร็ง ในยีสต์ Saccharomyces cerevisiae สายพันธุ์กลายที่ขาดยีน ZDS1 (∆zds1) พบว่าการกระตุ้นสัญญาณของแคลเซียมที่มากเกินไปก่อให้เกิดความผิดปกติอย่างรุนแรงในการเจริญของเซลล์ ซึ่งเป็นผลมาจากการยับยั้งกระบวนการแบ่งเซลล์ที่ระยะ G2 การค้นพบดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้ประยุกต์สำหรับการคัดกรองที่มีผลสัมฤทธิ์สูง เพื่อหาสารออกฤทธิ์ยับยั้งวิถีการส่งสัญญาณของแคลเซียมที่มีต่อการควบคุมการแบ่งเซลล์ยีสต์ งานวิจัยก่อนหน้าได้ใช้ระบบคัดกรองดังกล่าว เพื่อคัดกรองหาสารออกฤทธิ์จากสารสกัดสมุนไพรไทย และพบว่าส่วนสกัดหยาบจากส่องฟ้าดงสามารถยับยั้ง วิถีการส่งสัญญาณของแคลเซียมในยีสต์สายพันธุ์กลาย ∆zds1 ได้ สำหรับงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาโมเลกุลเป้าหมายของการออกฤทธิ์ของสารประกอบคูมารินที่สกัดได้จากส่วนสกัดหยาบของส่องฟ้าดงในวิถีการส่งสัญญาณของแคลเซียมในยีสต์ จากการทดลองโดยใช้วิธีทางพันธุศาสตร์ของยีสต์พบว่าโมเลกุลเป้าหมายของสารประกอบคูมารินในยีสต์คือ calcineurin โดยพบว่าสามารถช่วยฟื้นความบกพร่องในการเจริญของเซลล์ยีสต์ อันเนื่องมาจากสัญญาณกระตุ้น calcineurin ที่มากเกินได้ calcineurin เป็นโมเลกุลที่มีการอนุรักษ์จากยีสต์ สู่มนุษย์ ซึ่งเป็นเอนไซม์ฟอสฟาเฟสที่มีบทบาทสำคัญหนึ่งในกระบวนการกระตุ้นการแบ่งเซลล์และการหลั่ง ไซโตไคน์ในเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T-lymphocyte เมื่อศึกษาผลของสารประกอบคูมารินดังกล่าวในเซลล์ไลน์มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Jurkat พบว่าสารประกอบคูมารินไม่มีความเป็นพิษแบบเฉียบพลัน เมื่อศึกษาผลของสารประกอบคูมารินต่อโมเลกุลเป้าหมาย NFAT ซึ่งเป็นโมเลกุลปลายน้ำต่อจาก calcineurin โดยวิธี เวสเทิร์นบลอตพบว่าสารประกอบคูมารินมีผลยับยั้งการเกิด NFAT dephosphorylation โดยส่งผลให้เกิดการยับยั้งการผลิต IL-2 ได้ตั้งแต่ระดับการถอดรหัสของยีน ดังนั้นสารประกอบคูมารินที่ได้จึงมีศักยภาพนำไปพัฒนาเป็นยากดภูมิคุ้มกันได้ต่อไป
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ