![]() |
การปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัย ขนาดกลาง-ย่อม ในเขตกรุงเทพมหานคร |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัย ขนาดกลาง-ย่อม ในเขตกรุงเทพมหานคร |
Creator | รุ่งธรรม เกียรติศรีชาติ |
Contributor | ไตรรัตน์ จารุทัศน์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ -- ไทย -- กรุงเทพฯ, ธุรกิจขนาดย่อม -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
Abstract | ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาธุรกิจขนาดกลาง-ย่อมซึ่งเป็นแหล่งงานใหญ่ของประเทศในภาพรวมมีสัดส่วนในการสร้างรายได้ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องในทางเดียวกันผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ก็มีการจดเลิกกิจการในจำนวนที่มาก จึงมีความสำคัญที่จะศึกษากลยุทธ์และการปรับตัวของผู้ประกอบการที่ยังสามารถพัฒนาอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยในการวิจัยการปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่อาศัย ขนาดกลาง-ย่อม ในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดกลาง-ย่อม (2) ศึกษาปัจจัยและแรงกดดันที่ก่อให้เกิดการปรับตัวทางธุรกิจ (3) ศึกษากลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการเลือกใช้ในการปรับธุรกิจ (4) ศึกษากระบวนการและขั้นตอนในการปรับตัวทางธุรกิจ โดยมีขอบเขตงานวิจัย คือ ผู้ประกอบการขนาดกลาง ที่มียอดขาย 300-500 ล้านบาทและผู้ประกอบการขนาดย่อมที่มียอดขาย 100-300 ล้านบาท โดยเป็นบริษัทที่มีการเติบโตต่อเนื่อง และสินค้าที่พัฒนาอยู่ในเขตที่มีการเติบโตด้านที่อยู่อาศัย โดยมีขอบเขตที่ศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ.2549-2554 ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 6 ราย จากผลการศึกษาพบว่าผู้ประกอบการประสบปัญหาด้านความสามารถในการขยายตลาดมากที่สุด รองลงมาคือด้านเงินทุนและแรงงาน ส่วนแรงกดดันสำคัญที่ทำให้ต้องมีการปรับตัวคือปัจจัยด้านการตลาด ทั้งจากอุปสงค์(ลูกค้า) ทั้งด้านอำนาจต่อรองและกำลังซื้อ และอุปทาน(คู่แข่ง) โดยเฉพาะแรงกดดันจากผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนี้ยังพบว่ากลยุทธ์ที่ผู้ประกอบการเลือกใช้ในการดำเนินธุรกิจจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับปัญหาและแรงกดดัน โดยจะเลือกใช้กลยุทธ์การตลาด ทั้งการพัฒนาสินค้าที่เชี่ยวชาญและการสร้างความแตกต่างของสินค้าเป็นกลยุทธ์หลักเพื่อแข่งขันกับรายใหญ่และเป็นการแก้ปัญหาเงินทุนและความสามารถในการการขยายตลาดได้ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการบริหารและปรับองค์กรภายในให้มีประสิทธิภาพเพื่อจัดการกับเรื่องแรงงานระดับบริหาร รวมไปจนถึงการบริหารเงินสดเพื่อลดเงินทุน และการควบคุมงานก่อสร้างอย่างมีคุณภาพ ทางหนึ่งเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน อีกทางเพื่อสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าในระยะยาว ในด้านกระบวนการปรับตัวผู้ประกอบการมีการเสนอแนะขั้นตอน วิสัยทัศน์-กำหนดแผน เพิ่มเติมจาก ตระหนัก-ทบทวน-พัฒนา-ต่อเนื่อง ถึงแม้ว่ายังไม่มีการบันทึกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรแต่ก็มีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยคือผู้ประกอบการขนาดกลาง-ย่อม ในด้านการตลาดควรพัฒนาโครงการและทำเลที่มีความเชี่ยวชาญและอาศัยความใกล้ชิดของเจ้าของในการสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อลูกค้า โดยการอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะและการพึ่งพาด้านเงินทุนของตนเองเป็นหลักควบคู่กับการวางแผนการชำระหนี้แหล่งเงินทุนจากสถาบันอย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งจัดการบริหารงานภายในให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยการมีส่วนร่วมอย่างเข้าใจถ่องแท้ของผู้บริหารประกอบกับการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกในงานที่องค์กรไม่ถนัด และต้องมีความเข้าใจถึงจุดแข็ง-จุดอ่อนขององค์กรตนเองและคู่แข่งที่เป็นองค์กรใหญ่และพัฒนากลยุทธ์เพื่อแก้ไขปัญหาจากการวิเคราะห์นั้นอย่างสัมพันธ์กัน ทั้งนี้ในการดำเนินธุรกิจขนาดกลาง-ย่อมต้องมีความรอบคอบมากเป็นพิเศษ เนื่องจากธุรกิจขนาดกลาง-ย่อมไม่สามารถรับความเสี่ยงจากข้อผิดพลาดได้มากนัก |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |