![]() |
การสร้างออดิโอเดสคริปต์ชั่นในภาพยนตร์การ์ตูน เพื่อเด็กพิการทางการมองเห็น |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การสร้างออดิโอเดสคริปต์ชั่นในภาพยนตร์การ์ตูน เพื่อเด็กพิการทางการมองเห็น |
Creator | ธีร์ธวัช เจนวัชรรักษ์ |
Contributor | จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์, ปริดา มโนมัยพิบูลย์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ภาพยนตร์การ์ตูน, เด็กตาบอด, เสียง, เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา, วิทยุกระจายเสียง |
Abstract | วิทยานิพนธ์เรื่อง การสร้างออดิโอเดสคริปต์ชั่นในภาพยนตร์การ์ตูน เพื่อเด็กพิการทางการมองเห็น ฉบับนี้ เป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ (Creative Research) ที่ได้มีการศึกษาตามวัตถุประสงค์การวิจัย 2 ข้อ คือ (1) ศึกษาถึงกระบวนการสร้างออดิโอเดสคริปต์ชั่นในภาพยนตร์การ์ตูนและการทดลองสร้าง และ (2) การทดสอบการรับรู้สุนทรียภาพจากภาพยนตร์การ์ตูนเฉพาะกิจ จากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนที่มีความพิการทางการมองเห็น อายุ 7 – 9 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร และได้เลือกภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง ทอม แอนด์ เจอร์รี่ จำนวนทั้งสิ้น 3 ตอน เพื่อเป็นกรณีศึกษา ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการสังเกตพฤติกรรม และการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการสร้างออดิโอเดสคริปต์ชั่นในภาพยนตร์การ์ตูน เป็นกระบวนการที่มีรายละเอียดมาก ทั้งในเรื่องของ (1) การเลือกคำที่จะใช้สื่อสาร จากการวิเคราะห์ระดับภาษาของกลุ่มตัวอย่างและกรอบภาษาในสื่อบันเทิงที่อยู่ในรูปแบบของเสียง (2) การวิเคราะห์เรื่องราวและ “เลือก” สิ่งที่จำเป็นต้องสื่อสาร (3) การวางแผนและตัดสินใจในการเขียนบทบรรยาย และ (4) การสื่อสารอารมณ์ของเรื่องผ่านบทบรรยาย เพราะการสร้างสื่อลักษณะนี้ “เสียง” จะทำหน้าที่เป็น “ภาพ” และทำหน้าที่แทน “การแสดง” ของตัวละครทั้งหมดในเรื่อง ดังนั้น ทักษะการใช้เสียงเพื่อสื่อสารอารมณ์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญพอๆกับการเลือกคำเพื่อสื่อสารเรื่อง สำหรับการทดสอบการรับรู้สุนทรียภาพ จากกลุ่มตัวอย่างเด็กนักเรียนที่มีความพิการทางการมองเห็น อายุ 7 - 9 ปี ในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ทุกกลุ่มตัวอย่างสามารถเล่าเรื่องราวได้อย่างถูกต้องเป็นลำดับ แต่มักจะข้ามเหตุการณ์ที่เป็นมุขตลกแบบฉับพลันไป กลุ่มตัวอย่างสามารถรับสารข้อคิดเชิงศีลธรรมได้ เฉพาะในเรื่องที่มีการระบุไว้ในบทบรรยายชัดเจน และกลุ่มตัวอย่างอย่างอายุ 8 ปี และ 9 ปี สามารถสื่อสารรายละเอียดจากจินตนาการของภาพฉากที่ตนประทับใจได้มากกว่ากลุ่มตัวอย่างอายุ 7 ปี โดยกลุ่มตัวอย่างอายุ 8ปี และ 9 ปี สามารถให้รายละเอียดภาพที่ประทับใจได้ถึงบริบทของฉากนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับประสบการณ์ของตนเอง ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างอายุ 7 ปี สามารถกล่าวถึงเพียงตัวละครหลักๆ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |