ความเข้าใจของสถาปนิกเกี่ยวกับคุณสมบัติด้านอัคคีภัยของวัสดุอาคารภายใต้กฎหมายไทย
รหัสดีโอไอ
Title ความเข้าใจของสถาปนิกเกี่ยวกับคุณสมบัติด้านอัคคีภัยของวัสดุอาคารภายใต้กฎหมายไทย
Creator ภูมิ ชีวะสาคร
Contributor ไตรวัฒน์ วิรยศิริ
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword กฎหมายก่อสร้าง -- ไทย, วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง, สถาปนิก, ความเข้าใจ
Abstract การเลือกใช้วัสดุอาคารให้มีความปลอดภัยจากอัคคีภัย นับเป็นหน้าที่สำคัญในการปฏิบัติวิชาชีพของสถาปนิก โดยในปัจจุบันมีข้อกฎหมายเกี่ยวกับการใช้วัสดุในอาคารอยู่บ้าง แต่จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าการใช้ภาษาเชิงกฎหมายของข้อกำหนดบางส่วน มีปัญหาในการนำมาใช้ประกอบการทำงานจริง ในการเลือกใช้วัสดุอาคารให้มีความปลอดภัย ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติด้านอัคคีภัยของวัสดุอาคารจึงเป็นสิ่งจำเป็น ทั้งในการใช้ตีความข้อกฎหมายได้อย่างถูกต้อง และนำมาประกอบการเลือกใช้วัสดุในท้องตลาดให้มีปลอดภัยในการออกแบบอาคาร งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และรวบรวมข้อมูลสถานะความรู้และความเข้าใจของสถาปนิกเกี่ยวกับการเลือกใช้วัสดุอาคาร รวมถึงศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติด้านอัคคีภัยแก่สถาปนิก จากข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างที่จำแนกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มสถาปนิกสำนักงานและกลุ่มสถาปนิกอิสระ โดยใช้แบบสอบถาม ที่มีโครงสร้างหลักๆ 2 ส่วน ได้แก่ แบบมาตราส่วนประเมินค่าและแบบสอบถามปลายเปิด ร่วมกับการสัมภาษณ์กลุ่มสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญในข้อมูลเชิงลึกในด้านความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ เพื่อนำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ข้อมูล จากการรวบรวมข้อมูลพบว่า กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดเห็นความสำคัญของวัสดุอาคารว่ามีส่วนสำคัญในการสร้างความปลอดภัยให้แก่อาคาร แต่ในการทำงานจริงนั้นมีแนวโน้มว่าสถาปนิกอิสระ และสถาปนิกสำนักงานที่ออกแบบโครงการขนาดเล็กจะให้ความสำคัญรวมถึงมีองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติด้านอัคคีภัยในการเลือกใช้วัสดุในท้องตลาดตามข้อนิยามในกฎหมายน้อยกว่าสถาปนิกสำนักงานที่ออกแบบโครงการขนาดใหญ่แม้จะสามารถเข้าใจนิยามของกฎหมายได้อย่างชัดเจนก็ตาม ทำให้วิเคราะห์และสรุปได้ว่าประสบการณ์การทำงาน และลักษณะหรือขนาดโครงการที่สถาปนิกรับผิดชอบ จะเป็นตัวแปรสำคัญขององค์ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติด้านอัคคีภัยของสถาปนิก และเป็นปัจจัยที่เอื้อให้สถาปนิกเห็นถึงความสำคัญในการศึกษาในประเด็นนี้เพิ่มเติมรวมถึงลักษณะและระบบในการทำงาน ซึ่งสถาปนิกที่ทำงานสำนักงานขนาดใหญ่ที่มีระบบการจัดการข้อมูลที่ดี และมีการตรวจสอบโดยหลายฝ่ายแล้ว จะมีองค์ความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับอัคคีภัยในการออกแบบมากกว่ากลุ่มสถาปนิกอิสระหรือสถาปนิกในสำนักงานขนาดเล็ก ที่ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นการตีความตามนิยามของกฎหมาย มากกว่าการศึกษารายละเอียดคุณสมบัติด้านอัคคีภัยของวัสดุนั้นๆ ประเด็นสำคัญสำหรับแนวทางการสร้างความเข้าใจจึงอยู่ที่การสื่อสารให้สถาปนิก โดยเฉพาะในกลุ่มที่ยังไม่ค่อยให้ความสำคัญเกี่ยวกับคุณสมบัติด้านอัคคีภัย เห็นความเชื่อมโยงระหว่างองค์ความรู้และลักษณะโครงการที่ออกแบบ รวมถึงการให้ความรู้ด้านการจัดการข้อมูลโดยองค์กรวิชาชีพสถาปนิก เพื่อให้สถาปนิกสามารถเข้าใจและประยุกต์ใช้ได้ง่ายขึ้น เช่น การจัดทำคู่มือในการเลือกใช้วัสดุอาคารโดยการร่วมมือกับสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม ประกอบกับการใช้มาตรการทางกฎหมายให้มีรายละเอียดและผลบังคับใช้ที่ชัดเจน เพื่อเพิ่มน้ำหนักในประเด็นเหล่านี้แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการเช่น เจ้าของโครงการ หรือเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นที่กำกับการใช้กฎหมาย
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ