ผลของการเรียนการสอนฟิสิกส์โดยใช้การสร้างความรู้เชิงกลยุทธ์ที่มีต่อความสามารถ ในการแก้ปัญหาและมโนทัศน์เรื่องโมเมนตัมและการดลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
รหัสดีโอไอ
Title ผลของการเรียนการสอนฟิสิกส์โดยใช้การสร้างความรู้เชิงกลยุทธ์ที่มีต่อความสามารถ ในการแก้ปัญหาและมโนทัศน์เรื่องโมเมนตัมและการดลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
Creator อรชา ชูเชื้อ
Contributor พิมพันธ์ เดชะคุปต์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ฟิสิกส์ -- การศึกษาและการสอน, การแก้ปัญหา
Abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายหลังการเรียนการสอนโดยใช้การสร้างความรู้เชิงกลยุทธ์ (2) เปรียบเทียบความ สามารถในการแก้ปัญหาระหว่างนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายกลุ่มที่เรียนโดยใช้การสร้างความรู้เชิงกลยุทธ์กับนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติ (3) ศึกษามโนทัศน์เรื่องโมเมนตัมและการดลของนักเรียนมัธยม ศึกษาตอนปลายหลังการเรียนการสอนโดยใช้การสร้างความรู้เชิงกลยุทธ์และ (4) เปรียบเทียบมโนทัศน์เรื่องโมเมนตัมและการดลระหว่างนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายกลุ่มที่เรียนโดยใช้การสร้างความรู้เชิงกลยุทธ์กับนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปากคาดพิทยาคม จังหวัดบึงกาฬ ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 2 ห้องเรียน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 36 คน เรียนฟิสิกส์โดยใช้การสร้างความรู้เชิงกลยุทธ์ และกลุ่มควบคุมจำนวน.35 คนเรียนฟิสิกส์ด้วยวิธีสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ (1) แบบประเมินกระบวนการแก้ปัญหาซึ่งมีค่าความตรงเท่ากับ 0.87 ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89 และแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาซึ่งมีค่าความตรงเท่ากับ 0.82 ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.91 ค่าความยากง่ายอยู่ในช่วง 0.30-0.80 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.32-0.54 และ (2) แบบวัดมโนทัศน์เรื่องโมเมนตัมและการดล ซึ่งมีค่าความตรงเท่ากับ 0.84 ความเที่ยงเท่ากับ 0.82 ค่าความยากง่ายอยู่ในช่วง 0.36-0.78 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.32-0.68 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย เลขคณิต ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1 นักเรียนที่เรียนฟิสิกส์โดยใช้การสร้างความรู้เชิงกลยุทธ์มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละความสามารถใน การแก้ปัญหาเท่ากับ 76.03 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2 นักเรียนที่เรียนฟิสิกส์โดยใช้การสร้างความรู้เชิงกลยุทธ์มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถ ในการแก้ปัญหาสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3 นักเรียนที่เรียนฟิสิกส์โดยใช้การสร้างความรู้เชิงกลยุทธ์มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละมโนทัศน์ เรื่องโมเมนตัมและการดลเท่ากับ 75.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 4 นักเรียนที่เรียนฟิสิกส์โดยใช้การสร้างความรู้เชิงกลยุทธ์มีคะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์เรื่องโมเมนตัมและการดลสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ