การรวมกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจของผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศขนาดเล็กในประเทศไทย
รหัสดีโอไอ
Title การรวมกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจของผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศขนาดเล็กในประเทศไทย
Creator ชนนิกานต์ รุจีหิรัญญปกฤต
Contributor กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒิ
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword กลยุทธ์พันธมิตรธุรกิจ, ตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ -- ไทย, Strategic alliances ‪(Business)‬, Freight forwarders -- Thailand
Abstract ศึกษารูปแบบการรวมกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจที่ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศขนาดเล็กในไทยต้องการ รวมทั้งศึกษาแรงจูงใจและอุปสรรคที่มีผลต่อการรวมกลุ่มพันธมิตร โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศขนาดเล็กในไทย ที่เป็นสมาชิกสมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศไทย (TIFFA) ในปี พ.ศ. 2554 จำนวนทั้งสิ้น 203 บริษัท โดยในการวิจัยครั้งนี้ มีผู้ตอบแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์ สามารถนำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์สมการถดถอยโลจิสติกออร์ดินัล (Ordinal logistic regression) ได้ทั้งสิ้น 81 ชุด จากการวิจัยพบว่า รูปแบบที่ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศขนาดเล็กในไทยเลือกรวมกลุ่มมากที่สุดคือ พันธมิตรทางธุรกิจแบบร่วมมือกันเป็นครั้งคราว แล้วแต่ตกลง โดยแรงจูงใจที่ทำให้เกิดการรวมกลุ่มมากที่สุดมาจากแรงจูงใจภายนอก เรื่องการที่ลูกค้าจะได้รับบริการที่หลากหลายและครบวงจรมากยิ่งขึ้น และอุปสรรคที่ขัดขวางการรวมกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจที่มากที่สุดคือ อุปสรรคด้านความไม่เชื่อถือไว้ใจ นอกจากนี้ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 แรงจูงใจภายนอกองค์กรเฉลี่ย อุปสรรคเรื่องความไม่ไว้ใจในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจระหว่างพันธมิตร ความไม่ต้องการแบกรับภาระความเสี่ยงร่วมกันกับพันธมิตร ผู้บริหารไม่พร้อมที่จะวางแผน กำหนดเป้าหมายและข้อตกลงทางธุรกิจร่วมกันกับพันธมิตร บริการที่ให้แก่ลูกค้าได้ในปัจจุบันด้านสารสนเทศ และประสบการณ์ในการเคยร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับองค์กร ที่รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศมาก่อน มีความสัมพันธ์กับรูปแบบของการรวมกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ