![]() |
ความชุกของภาวะพร่องเอนไซม์กลูโคส 6-ฟอสเฟต ดีไฮโดรจีเนสและความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน G6PD ในชาวกะเหรี่ยง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ความชุกของภาวะพร่องเอนไซม์กลูโคส 6-ฟอสเฟต ดีไฮโดรจีเนสและความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน G6PD ในชาวกะเหรี่ยง |
Creator | อาภากร กาญจนวิทยากุล |
Contributor | ชาลิสา หลุยเจริญ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | การกลายพันธุ์, กะเหรี่ยง, ยีน |
Abstract | ภาวะพร่องเอนไซม์ G 6-PD เป็นความแปรผันของเอนไซม์ G 6-PD ที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของยีน G6PD บนโครโมโซมเพศ X โดยมีความจำเพาะกับชาติพันธุ์ การกลายพันธุ์ของยีน G6PD ที่พบบ่อยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มี 2 ชนิด คือ G6PD Viangchan (871 G>A : Valine 291 Methionine) พบมากในชาวไทย ลาวและเขมร และ G6PD Mahidol (487 G>A : Glycine 163 Serine) พบมากในชาวพม่าและมอญ ปัจจุบันยังไม่มีรายงานการศึกษาพันธุศาสตร์ประชากรในชาวกะเหรี่ยงกลุ่มปากะญอ ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ในพม่าและเป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนไทย-พม่า ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะพร่องเอนไซม์ G 6-PD การกลายพันธุ์และความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน G6PD ในชาวกะเหรี่ยงกลุ่มปากะญอ จังหวัดสุโขทัย จำนวน 230 คน (ชาย 106 คน หญิง 124 คน) ผลการศึกษาด้วยวิธี Fluorescence spot test พบภาวะพร่องเอนไซม์ G 6-PD ร้อยละ 8.7 โดยแบ่งเป็นเพศชายร้อยละ 14.15 และเพศหญิงร้อยละ 4.03 ขณะที่กลุ่ม Intermediate พบร้อยละ 11.74 แบ่งเป็นเพศชายร้อยละ 7.55 และเพศหญิงร้อยละ 15.32 เมื่อศึกษาการกลายพันธุ์ของยีน G6PD ในประชากรเพศชายพบ G6PD Mahidol ร้อยละ 14.15 (15 ใน 106 คน) และ G6PD Canton ร้อยละ 0.94 (1 ใน 106 คน) จากการศึกษาพหุสัณฐาน SNPs nt1,311CT และ nt93TC ในอัลลีลปกติ (G6PD B) พบรูปแบบ haplotype ชนิดที่ 1 : 1,311C, 93T มากที่สุดร้อยละ 75.33 (226 ใน 300 อัลลีล) ขณะที่อัลลีล G6PD Mahidol และ G6PD Canton ทั้งหมดพบ haplotype ชนิดที่ 1 : 1,311C, 93T ดังนั้นงานวิจัยนี้สรุปได้ว่า ภาวะพร่องเอนไซม์ G 6-PD ในชาวกะเหรี่ยงกลุ่มปากะญอ พบได้มากเช่นเดียวกับชาติพันธุ์อื่นๆ ในภูมิภาคนี้ที่ซึ่งมีมาลาเรียระบาด อีกทั้งพบ G6PD Mahidol และ haplotype ชนิดที่ 1 : 1,311C, 93T มากที่สุดเช่นเดียวกับชาวพม่าและมอญ ซึ่งแตกต่างจากชาวไทย ลาวและเขมร ดังนั้นการกลายพันธุ์ของยีน G6PD แสดงให้เห็นว่าชาวกะเหรี่ยงกลุ่มปากะญอ น่าจะสืบเชื้อสายชาติพันธุ์ร่วมกับชาวพม่าและมอญ โดยมี G6PD B haplotype ชนิดที่ 1 : 1,311C, 93T เป็นอัลลีลบรรพบุรุษ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |