นโยบายการส่งสินค้า สำหรับการขนส่งสองรูปแบบ
รหัสดีโอไอ
Title นโยบายการส่งสินค้า สำหรับการขนส่งสองรูปแบบ
Creator จุฑาทิพย์ เจริญประเสริฐกุล
Contributor ปวีณา เชาวลิตวงศ์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword การบริหารงานโลจิสติกส์, การขนส่งสินค้า, อุปทานและอุปสงค์ -- พยากรณ์
Abstract ลักษณะความต้องการของสินค้าอุปโภคบริโภคมีลักษณะเฉพาะที่ลูกค้าต้องการสินค้าทันทีที่ต้องการ ดังนั้น ผู้ผลิตสินค้าประเภทนี้จึงต้องผลิตสินค้าภายใต้การพยากรณ์ การส่งสินค้าไปตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วในประเทศที่อยู่ห่างจากฐานการผลิต ก็ยิ่งใช้เวลาขนส่งนาน โดยเฉพาะระยะเวลาการขนส่งที่ยาวนานกว่าระยะเวลาพิจารณาระดับสินค้าคงคลัง ทำให้องค์กรต้องทำการผลิตก่อนที่จะเกิดการขายจริง ทำให้ต้องมีการพยากรณ์อุปสงค์ล่วงหน้า แต่ค่าพยากรณ์นี้ ไม่ใช่ค่าอุปสงค์ที่แท้จริงจึงเกิดความผิดพลาดได้ การพยายามส่งสินค้าให้เร็วขึ้น เพื่อลดความผันผวนของค่าพยากรณ์ ก็จะทำให้มีต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้น และการเก็บสินค้าคงคลังไว้เป็น Safety Stocks ที่มากเกินไป ก็จะมีต้นทุนสินค้าคงคลัง งานวิจัยในที่นี้ เสนอนโยบายสองลักษณะ คือ Periodic-Periodic Review และ Periodic-Continuous Review นโยบายที่นี้จะพิจารณาการตัดสินใจส่งสินค้าสองรูปแบบคือ รูปแบบเร่งด่วน และรูปแบบปกติ โดยพิจารณาส่งสินค้าทั้งสองรูปแบบให้ถึงระดับ Base Stock ที่กำหนด เพื่อลดต้นทุนรวม โดยนโยบาย Periodic-Periodic Review สามารถลดต้นทุนรวมได้ 46% โดยสามารถลดต้นทุนสินค้าคงคลังได้มากที่สุดคือ 54% ขณะที่นโยบาย Periodic-Continuous Review สามารถลดต้นทุนรวมได้ 60% โดยสามารถลดต้นทุนสินค้าขาด ได้มากที่สุดคือ 71% โดยนโยบาย Periodic-Continuous Review นี้ สามารถรักษาระดับสินค้าคงคลัง สำหรับลักษณะอุปสงค์ที่มีความผันผวนจากค่าพยากรณ์มาก ได้ดี นอกจากนี้จากการทดสอบจุดหมาย 3 แห่ง ที่มีระยะเวลาการขนส่งที่แตกต่างกัน จุดหมาย L1 คือจุดหมายที่มีระยะเวลาการขนส่งระหว่างสองรูปแบบต่างกันมาก การนำนโยบายมาใช้สามารถลดต้นทุนได้มากที่สุด ขณะที่จุดหมายที่มีระยะเวลาการขนส่งทั้งสองรูปแบบยาวนาน สามารถลดต้นทุนได้น้อยที่สุด
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ