สภาพและปัญหาการดำเนินงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมศึกษาในระดับอนุบาลของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
รหัสดีโอไอ
Title สภาพและปัญหาการดำเนินงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมศึกษาในระดับอนุบาลของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
Creator ชัชวาลย์ ลิ้มรัชตะกุล
Contributor อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword การศึกษาขั้นอนุบาล, สิ่งแวดล้อมศึกษา
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมศึกษาในระดับอนุบาลของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ คือ ผู้บริหารจำนวน 14 คน ครูอนุบาลจำนวน 50 คน และผู้ปกครองจำนวน 957 คน รวมทั้งสิ้น 1,021 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบสังเกต และแบบสำรวจ ผลการวิจัยพบว่า ด้านการบริหารจัดการบุคลากร: 1) การกำหนดนโยบายและการดำเนินงาน บุคลากรของโรงเรียนและชุมชนมีการกำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย ธรรมนูญโรงเรียนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมศึกษาในระดับอนุบาล 2) การอบรมให้ความรู้แก่บุคลากร ผู้บริหารเชิญวิทยากรจากหน่วยงานและเครื่อข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษามาจัดอบและสัมมนาวิชาการภายในโรงเรียน และส่งบุคลากรเข้าร่วมอบรมเรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษาของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3) การกำหนดหน้าที่และบทบาทของบุคลากร มีการมอบหมายหน้าที่และบทบาทให้กับบุคลากรตามความสนใจและความถนัดส่วนตน และ 4) การสื่อสารภายในโรงเรียน โดยการจัดการประชุมเชิงวิชาการ จัดการอบรม สัมมนา จัดค่ายอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการเผยแพร่ข้อมูลออกสู่ชุมชน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้: 1) การพัฒนาหลักสูตรยึดตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 และหลักการพัฒนาการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับความต้องการ ความสนใจ และบริบทชุมชน 2) การพัฒนาการเรียนรู้ ตามหลักพัฒนาการและความสนใจของเด็ก กิจกรรมที่จัดแบบบูรณาการเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่ มีระยะเวลาที่เหมาะสมยืดหยุ่นได้ 3) การพัฒนาและใช้แหล่งเรียนรู้มีการดำเนินงานร่วมกันระหว่างโรงเรียนและชุมชน 4) ผู้บริหารมีการประเมินการสอนของครูอย่างสม่ำเสมอ ครูร่วมกับชุมชนมีการประเมินผลการจัดกิจกรรม และพฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของเด็กอนุบาล ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม: 1) การจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน ให้มีพื้นที่ในการทำกิจกรรมและสื่อ อุปกรณ์มีการจัดวางเป็นสัดส่วนโดยคำนึงถึงความปลอดภัย การเลือกใช้ทรัพยากรธรรมชาติ 5 R และความสะดวกสำหรับครูและเด็กอนุบาล 2) การบริหารจัดการน้ำ ส่วนใหญ่มีเครื่องกรองน้ำใช้ในโรงเรียน และมีโรงเรียนเพียง 2 แห่งที่ใช้ระบบบำบัดน้ำเสีย 3) การใช้พลังงาน มีการรณรงค์การลดการใช้พลังงานทั้งในโรงเรียนและชุมชนร่วมกัน มีเพียง 1 โรงเรียนที่มีการใช้พลังงานทดแทน คือ โซล่าเซลล์ 4) การบริหารจัดการขยะ ทุกโรงเรียนมีโครงการธนาคารขยะ การนำขยะต่าง ๆ มาทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพและเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้กับโรงเรียนและชุมชน ด้านการมีส่วนร่วมและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา: 1) การมีส่วนร่วมภายในโรงเรียนมีการดำเนินงานอย่างเป็นกัลยาณมิตร และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน 2) โรงเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน คัดเลือกสื่ออุปกรณ์ การจัดบุคลากรเข้ารับการอบรม เป็นวิทยากรพิเศษและการจัดหางบประมาณ 3) การมีส่วนร่วมกับเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา มีการประสานงานร่วมกันในการจัดอบรมเชิงวิชาการในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา และการจัดสรรงบประมาณรายปีจากหน่วยงานต้นสังกัดให้กับทุกโรงเรียนในโครงการฯ ปัญหาที่พบคือ: 1) ด้านการบริหารจัดการบุคลากร ขาดแคลนบุคลากรเฉพาะทาง ขาดงบประมาณในการจัดเตรียมอาคาร สถานที่ 2) ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ครูอนุบาลขาดการสนับสนุนจากทางโรงเรียนในการส่งไปเข้าร่วมการจัดอบรม และขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษาในระดับอนุบาล 3) ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ขาดการสนับสนุนงบประมาณ และ 4) ด้านการมีส่วนร่วมและเครือข่ายสิ่งแวดล้อมศึกษา ผู้ปกครองไม่สามารถร่วมทำกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่องและแหล่งเรียนรู้ของเครือข่ายอยู่ห่างไกลชุมชนทำให้ใช้งบประมาณในการเดินทางมาก
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ