![]() |
กฎหมายกับ ISO 26000 ความรับผิดชอบต่อสังคม : ศึกษากรณีผู้ประกอบการในประเทศไทย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | กฎหมายกับ ISO 26000 ความรับผิดชอบต่อสังคม : ศึกษากรณีผู้ประกอบการในประเทศไทย |
Creator | วสุรัตน์ ศิริพงษ์มงคล |
Contributor | สำเรียง เมฆเกรียงไกร |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การธุรกิจ -- มาตรฐาน, ผู้ประกอบการ -- ไทย, Social responsibility of business -- Standards, Businesspeople -- Thailand |
Abstract | ศึกษามาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO 26000: Social responsibility) กับกฎหมายภายในว่ามีความสอดคล้องกันเพียงใด โดยเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ เพื่อให้เห็นแนวโน้มกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบต่อสังคม อันเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการไทยสู่มาตรฐานนี้ ซึ่งจะ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับภาคธุรกิจ จากการศึกษาพบว่า กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้จัดโครงการส่งเสริมการแสดงความรับผิดชอบของโรงงานอุตสาหกรรมต่อสังคม ซึ่งปัจจุบันมีสถานประกอบการอุตสาหกรรมที่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐาน ISO 26000 แล้วจำนวน 321 โรงงาน อย่างไรก็ดีในการศึกษามาตรฐาน นี้กับกฎหมายภายในโดยเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ พบว่ามาตรฐานนี้และกฎหมายต่างประเทศ มีความครอบคลุมกว่ากฎหมายภายใน ในเรื่องหน้าที่ของกรรมการบริษัทที่ต้องคำนึงถึงประเด็นผลกระทบของการดำเนินธุรกิจต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ความโปร่งใส ในจัดทำรายงานข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กระบวนการที่เป็นรูปธรรมในการป้องกันการคอร์รั่ปชั่นของภาคธุรกิจ ประเด็นด้านผู้บริโภคในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงกฎหมายเฉพาะสิทธิชุมชนท้องถิ่น แต่เนื่องจากวัตถุประสงค์ของมาตรฐานฉบับนี้มุ่งการบูรณาการ มากกว่าการแก้ไขกฎหมายภายใน ประกอบกับเมื่อพิจารณาสภาพการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบัน ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มุ่งตอบสนองประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคม ภาครัฐจึงควรสนับสนุนผ่านการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี อันเป็นการจูงใจให้ผู้ประกอบการเอกชนหันมาให้ความสำคัญ ต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นวงกว้างมากขึ้น นอกเหนือจากผู้ประกอบการในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |