การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยในการเลือกอาคารชุดพักอาศัยเป็นบ้านหลังที่สองในเขตชั้นในกับชั้นกลางของกรุงเทพมหานคร
รหัสดีโอไอ
Title การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยในการเลือกอาคารชุดพักอาศัยเป็นบ้านหลังที่สองในเขตชั้นในกับชั้นกลางของกรุงเทพมหานคร
Creator อลงกรณ์ จำฟู
Contributor มานพ พงศทัต
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword ที่อยู่อาศัย -- ไทย -- กรุงเทพฯ, อาคารชุด -- ไทย -- กรุงเทพฯ, บ้านหลังที่สอง, การซื้อบ้าน
Abstract การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพทางสังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิต กับปัจจัยในการเลือกอาคารชุดพักอาศัยเป็นบ้านหลังที่สอง และ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกอาคารชุดพักอาศัยเป็นบ้านหลังที่สองระหว่างเขตชั้นใน กับชั้นกลางของกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ กลุ่มประชากรที่อาศัยอยู่ในโครงการอาคารชุดในพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพมหานคร 2 โครงการ และพื้นที่ชั้นกลางของกรุงเทพมหานคร 2 โครงการ และต้องกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่เลือกอาคารชุดเป็นบ้านหลังที่สองโดยยังถือกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังแรกอยู่ ได้แก่โครงการลุมพินีวิลล์พหลโยธิน-สุทธิสาร จำนวน 861 หน่วย โครงการลุมพินีเพลสนราธิวาส-เจ้าพระยา จำนวน 1295 หน่วย โครงการลุมพินีเพลสปิ่นเกล้า จำนวน 571 หน่วย โครงการลุมพินีวิลล์รามคำแหง 44 จำนวน 813 หน่วย โดยทำการคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า มีผู้เลือกอาคารชุดเป็นบ้านหลังที่สองอยู่ร้อยละ 10.5 ส่วนใหญ่ผู้ที่เลือกอาคารชุดพักอาศัยเป็นบ้านหลังที่สองจะเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีช่วงอายุระหว่าง 25 – 35 ปี มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีสถานภาพโสด และสมรสในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ประกอบอาชีพในบริษัทเอกชน เป็นกลุ่มที่มีขนาดครอบครัว 1-3 คน และมีรายได้เฉลี่ยครัวเรือนมากกว่า 100,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป มีที่อยู่อาศัยปัจจุบันเป็นบ้านเดี่ยว มีแหล่งที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและมีแหล่งงานอยู่ในเขตชั้นในของกรุงเทพมหานคร และสุดท้ายส่วนใหญ่จะมีกรรมสิทธ์โดยสมบูรณ์ในบ้านหลังปัจจุบันก่อนเลือกอาคารชุดเป็นบ้านหลังที่สอง นอกจากนี้สาเหตุความต้องการบ้านหลังที่สองคือ ต้องการที่อยู่อาศัยใกล้แหล่งงาน หากมองโดยภาพรวมแล้วจะสื่อให้เห็นถึงการให้ความสำคัญด้านเศรษฐกิจ คือด้านการประกอบอาชีพและระยะทางจากที่อยู่อาศัยสู่แหล่งงาน ด้านปัจจัยที่ผู้ตอบแบบสอบถามในเขตชั้นในของกรุงเทพมหานครให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ปัจจัยทางด้านกายภาพ มีค่าเฉลี่ยการให้คะแนนความสำคัญอยู่ที่ 4.27 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับที่จอดรถที่เป็นสัดส่วน เป็นปัจจัยการเลือกอาคารชุดเป็นบ้านหลังที่สองที่เห็นได้ชัดในเขตชั้นในของกรุงเทพมหานคร ส่วนปัจจัยที่ผู้ตอบแบบสอบถามในเขตชั้นกลางของกรุงเทพมหานครให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ปัจจัยทางด้านตัวสินค้า มีค่าเฉลี่ยการให้คะแนนความสำคัญอยู่ที่ 4.31 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับห้องพักมีระบบป้องกันการโจรกรรมที่ดี ดังนั้นผู้ประกอบการจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านกายภาพ เช่น ที่จอดรถที่เป็นสัดส่วนและเพียงพอกับความต้องการของผู้เลือกอาคารชุดเป็นบ้านหลังที่สองในเขตชั้นในของกรุงเทพมหานคร และให้ความสำคัญในด้านตัวสินค้า เช่น การป้องกันการโจรกรรมในห้องพักของผู้เลือกอาคารชุดเป็นบ้านหลังที่สองในเขตชั้นกลางของกรุงเทพมหานคร จึงจะดึงดูดความสนใจจากผู้ที่ต้องการอาคารชุดเป็นบ้านหลังที่สอง ในส่วนของข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป ผู้วิจัยแนะนำให้ผู้สนใจศึกษาพฤติกรรมการอยู่อาศัยของคนที่เลือกอาคารชุดเป็นบ้านหลังที่สอง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการจัดการ และบริหารโครงการให้มีประสิทธิภาพ
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ