![]() |
การสื่อสารอัตลักษณ์และนาฏยศิลป์ในภาพยนตร์บอลลีวู้ดแนวนอกถิ่นอินเดีย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การสื่อสารอัตลักษณ์และนาฏยศิลป์ในภาพยนตร์บอลลีวู้ดแนวนอกถิ่นอินเดีย |
Creator | อาร์ลิศ ปาทาน |
Contributor | จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | การสื่อสาร, ภาพยนตร์อินเดีย, นาฏศิลป์ -- อินเดีย, การเต้นรำ -- อินเดีย, อัตลักษณ์ |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการเล่าเรื่องและอัตลักษณ์ความเป็นอินเดียของคนพลัดถิ่น พร้อมทั้งศึกษารูปแบบนาฏยศิลป์และการนำไปใช้เพื่อเล่าเรื่อง ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาการแสดงในภาพยนตร์บอลลีวู้ดแนวนอกถิ่นอินเดียจำนวนทั้งสิ้น 8 เรื่อง ได้แก่ Dilwale Dulhania Le Jayenge (1995) Kabhi Khushi Kabhie Gham (2001) Kal Ho Naa Ho (2003) Kabhi Alvida Naa Kehna (2006) Ta Ra Rum Pum (2007) Dostana (2008) New York (2009) และ My Name is Khan (2010) ประกอบกับการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและข้อมูลจากเอกสาร อีกทั้งศึกษาทัศนคติและสุนทรียรสของกลุ่มผู้ชม 2 กลุ่มคือ คนอินเดียและคนปากีสถานพลัดถิ่นในประเทศไทย จำนวน 20 คน ด้วยการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. กลวิธีการเล่าเรื่องมีลักษณะที่สำคัญ คือ ตัวละครคนอินเดียพลัดถิ่นจะมีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่ผสมผสานระหว่างความทันสมัยกับความเป็นอินเดียได้อย่างลงตัว และยังนำมาใช้เสนอเรื่องประเด็นทางสังคมต่างๆภายใต้ฉากในโลกตะวันตกด้วย ส่วนโครงเรื่องมักเกี่ยวกับเรื่องความรักของชายหญิงและความสัมพันธ์ภายในครอบครัว โดยพบว่าตัวละครจะคลี่คลายปัญหาของเรื่องด้วยการกลับสู่ค่านิยมที่ดีงามของอินเดียเสมอ ทั้งนี้แก่นความคิดและความขัดแย้งของเรื่องสามารถนำมาเปรียบเทียบและชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างความเป็นอินเดียกับความเป็นตะวันตก ซึ่งต่างมีผลต่อการสื่อสารอัตลักษณ์ของคนอินเดียพลัดถิ่นในภาพยนตร์ 2. นาฏยศิลป์ในภาพยนตร์บอลลีวู้ดแนวนอกถิ่นอินเดีย มีลักษณะผสมผสานระหว่างการเต้นและการขับร้องประกอบดนตรีแบบดั้งเดิม แบบพื้นบ้าน และจากวัฒนธรรมอื่นๆ โดยรูปแบบการเต้นเรียกว่า บอลลีวู้ดดานซ์ ส่วนรูปแบบการขับร้องประกอบดนตรีเรียกว่า ฟิล์ม-อินดีป๊อป นอกจากนี้รูปแบบนาฏยศิลป์สามารถนำมาใช้เพื่อการเล่าเรื่องได้ ตามวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น ใช้แทนความรู้สึกของตัวละคร แสดงแก่นความคิดหลักของภาพยนตร์ เป็นต้น 3. ทัศนคติและสุนทรียรสของกลุ่มผู้ชมทั้ง 2 กลุ่ม มีลักษณะแตกต่างกันไปตามรุ่นอายุ โดยพบว่า กลุ่มผู้ชมอายุ 40 ปีขึ้นไป ไม่ชื่นชอบภาพยนตร์แนวนอกถิ่นอินเดียและรูปแบบนาฏยศิลป์ที่พบ เพราะรู้สึกว่ามีความเป็นตะวันตกมากเกินไป แต่กลุ่มผู้ชมอายุ 20-38 ปี จะชื่นชอบ เพราะรู้สึกว่ามีความน่าสนใจ ทั้งนี้กลุ่มผู้ชมทั้งสองกลุ่มมีความเห็นตรงกันว่า การร้องและเต้นในภาพยนตร์มีความสำคัญมาก เพราะช่วยเล่าเรื่องและทำให้เคลิบเคลิ้มร่วมไปกับตัวละคร อีกทั้งตัวนักแสดงก็มีส่วนสำคัญในการเลือกรับชมภาพยนตร์ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |