![]() |
การสลับหน้าที่ระหว่างคำนามกับคำกริยาในภาษาไทย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การสลับหน้าที่ระหว่างคำนามกับคำกริยาในภาษาไทย |
Creator | วรรณภา สรรพสิทธิ์ |
Contributor | วิภาส โพธิแพทย์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ภาษาไทย -- คำนาม, ภาษาไทย -- คำกริยา, Thai language -- Noun, Thai language -- Verb |
Abstract | ศึกษาความสัมพันธ์ทางการกของการสลับหน้าที่ระหว่างคำนามกับคำกริยาในภาษาไทย ตลอดจนศึกษาทิศทางการขยายหน้าที่และกลไกทางอรรถศาสตร์ ในกระบวนการสลับหน้าที่ระหว่างคำนามกับคำกริยา ข้อมูลคำที่ใช้ในงาน วิจัยนี้มีจำนวน 180 คำ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ คำที่เกิดการสลับหน้าที่ก่อน พ.ศ. 2542 เก็บข้อมูลจาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 อีกกลุ่มหนึ่งคือคำที่เกิดการสลับหน้าที่ขึ้นในระยะเวลาเดียวกับการทำวิจัย เก็บข้อมูลจากคำที่พบในพจนานุกรมคำใหม่ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 1 และเล่ม 2 จากเว็บไซต์พันทิปดอทคอมในช่วงเดือนมีนาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2553 ตลอดจนคำที่ผู้วิจัยพบในชีวิตประจำวัน ผลการวิจัยพบว่าคำนามและคำกริยาที่เกิดการสลับหน้าที่กันมีความสัมพันธ์ทางการกได้ 7 ลักษณะ ได้แก่ ความสัมพันธ์ทางการกแบบผลซึ่งพบมากที่สุดถึง 35.55% รองลงมาคือแบบเครื่องมือ 22.77% แบบผู้มีสภาพ 11.66% แบบผู้เสริม 10% แบบผู้ทำ 7.77% แบบสถานที่ 6.66 และแบบผู้ถูกซึ่งพบน้อยที่สุดคือพบ 1.66% นอกจากนี้คำที่มีลักษณะพิเศษอีก 2 กลุ่ม คือ คำสลับหน้าที่ที่มีความสัมพันธ์ทางการกร่วมกัน 2 ลักษณะและคำสลับหน้าที่ที่มีความสัมพันธ์ทางความหมายที่ซับซ้อน จนไม่สามารถระบุความสัมพันธ์ทางการกได้ สำหรับทิศทางการขยายหน้าที่ของคำนั้น พบว่า 72.37% เป็นคำนามก่อนแล้วจึงขยายหน้าที่ไปเป็นคำกริยา ในขณะที่ 27.63% เป็นคำกริยาก่อนแล้วจึงขยายหน้าที่ไปเป็นคำนาม ส่วนกลไกทางอรรถศาสตร์ที่ทำให้เกิดการสลับหน้าที่ระหว่างคำนามกับคำกริยานั้น มี 3 รูปแบบ ได้แก่ (1) นามนัย ซึ่งพบมากที่สุด คือ 94.45% รูปแบบการเชื่อมโยงมโนทัศน์แบบนามนัยที่พบเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ ผลลัพธ์โยงกับการกระทำ เครื่องมือโยงกับการกระทำ ผู้กระทำโยงกับการกระทำ และสถานที่โยงกับการกระทำ (2) นามนัยเกิดร่วมกับอุปลักษณ์ พบ 4.44% และ (3) นามนัยเกิดร่วมกับการพ้องเสียง ซึ่งพบน้อยที่สุด คือ 1.11% |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |