![]() |
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ผสมผสานรูปแบบ INFOhio DIALOGUE และกระบวนการการเรียนรู้แบบสืบสอบ เพื่อเสริมสร้างการรู้สารสนเทศของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ผสมผสานรูปแบบ INFOhio DIALOGUE และกระบวนการการเรียนรู้แบบสืบสอบ เพื่อเสริมสร้างการรู้สารสนเทศของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 |
Creator | อุทุมพร ชื่นวิญญา |
Contributor | ยุรวัฒน์ คล้ายมงคล, พิมพันธ์ เดชะคุปต์, ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | การรู้สารสนเทศ, การศึกษา -- สหรัฐอเมริกา -- ทรัพยากรเครือข่ายคอมพิวเตอร์, ระบบการเรียนการสอน, การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, นักเรียนมัธยมศึกษา, Information literacy, Education -- United States -- Computer network resources, Instructional systems, Inquiry-based learning, Junior high school students |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ผสมผสานรูปแบบ INFOhio DIALOGUE และกระบวนการการเรียนรู้แบบสืบสอบเพื่อเสริมสร้างการรู้สารสนเทศของนักเรียนมัธยมศึกษา ปีที่ 1 2) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ผสมผสานรูปแบบ INFOhio DIALOGUE และกระบวนการการเรียนรู้แบบสืบสอบเพื่อเสริมสร้างการรู้สารสนเทศของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโยธินบูรณะ จำนวน 78 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 35 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 43 คน ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง จำนวน 18 สัปดาห์ รวม 36 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบการรู้สารสนเทศแบบปรนัย 4 ตัวเลือก และ 2) แบบทดสอบการรู้สารสนเทศแบบอัตนัย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างการรู้สารสนเทศของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีหลักการดังนี้ 1) การกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าที่ทำให้ผู้เรียนสนใจ 2) การแสวงหาสารสนเทศอย่างมีระบบ 3) การขยายความรู้ด้วยการสร้างสรรค์ผลงาน 4) การสะท้อนความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจ 5) การประเมินกระบวนการและผลงาน 6) ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมาย ขั้นตอนการเรียนการสอนมี 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สร้างความสนใจ 2) สำรวจและค้นหา 3) สร้างความรู้ 4) สร้างสรรค์ความรู้หรือผลงาน 5) ขยายความรู้ 6) สร้างความเข้าใจ 7) การประเมินเพื่อตรวจสอบความรู้ในแต่ละขั้นตอน นอกจากนี้ยังทำการประเมินผลหลังจากการเรียนรู้ทุกขั้นตอน 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า 1) กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) การรู้สารสนเทศด้านการเข้าถึง การประเมินและการใช้สารสนเทศของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ กลุ่มทดลองยังสามารถระบุสารสนเทศที่ต้องการสามารถเข้าถึงสารสนเทศ โดยใช้เทคนิคการใช้คำค้น รวมถึงประเมินความน่าเชื่อถือของสารสนเทศที่สืบค้นได้ และนำสารสนเทศไปใช้ได้อย่างเหมาะสม |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |