![]() |
การศึกษาเปรียบเทียบระบบการจัดการทางสัญจรภายในหน่วยงานผ่าตัดแบบ Peripheral corridor style และแบบ Double corridor alternative with surrounding soiled corridor style กรณีศึกษา อาคารสยามินทร์ โรงพยาบาลศิริราช และอาคาร 1 โรงพยาบาลรามาธิบดี |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การศึกษาเปรียบเทียบระบบการจัดการทางสัญจรภายในหน่วยงานผ่าตัดแบบ Peripheral corridor style และแบบ Double corridor alternative with surrounding soiled corridor style กรณีศึกษา อาคารสยามินทร์ โรงพยาบาลศิริราช และอาคาร 1 โรงพยาบาลรามาธิบดี |
Creator | ฐิติพร เสรีดีเลิศ |
Contributor | อวยชัย วุฒิโฆสิต |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ห้องผ่าตัด -- การออกแบบ, การออกแบบสถาปัตยกรรม, เส้นทางสัญจรในอาคาร, Operating rooms -- Design, Architectural design, Corridors |
Abstract | หน่วยงานผ่าตัด (Operating department) เป็นหน่วยงานหนึ่งในโรงพยาบาล มีหน้าที่ให้การบำบัดรักษาผู้ป่วย ด้วยการเอาส่วนที่เป็นพยาธิสภาพออกจากร่างกายโดยการผ่าตัด ด้วยวิธีรักษาดังกล่าวผู้ป่วยจะเกิดรอยแผลผ่าตัดบนร่างกาย ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อสูง หน่วยงานผ่าตัดจึงต้องมีวิธีการบริหารจัดการที่เคร่งครัดและซับซ้อน ทั้งเรื่องของอุปกรณ์เครื่องมือ บุคลากร และเส้นทางสัญจร เพื่อควบคุมความเสี่ยงในการติดเชื้อดังกล่าว การวางผังเส้นทางสัญจรในหน่วยงานผ่าตัดเป็นหนึ่งในวิธีควบคุมการติดเชื้อที่มีศักยภาพ รูปแบบการวางผังที่เกิดขึ้นมีหลากหลายรูปแบบตามแต่แนวความคิด สำหรับในการวิจัยผู้วิจัยเลือกศึกษาเปรียบเทียบเพียง 2 รูปแบบ คือ การวางผังเส้นทางสัญจรในหน่วยงานผ่าตัดรูปแบบ Peripheral Corridor Style (PCS) เป็นรูปแบบที่นิยมใช้ในสากล โดยเฉพาะประเทศอเมริกา ซึ่งมีแนวความคิดหลักเป็นการป้องกันการติดเชื้อของอุปกรณ์เครื่องมือปลอดเชื้อ และรูปแบบ Double Corridor Alternative with Surrounding Soiled Corridor Style (SSC) เป็นรูปแบบที่นิยมใช้ในประเทศไทย ซึ่งมีแนวความคิดหลักเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อจากอุปกรณ์เครื่องมือสกปรก จากแนวความคิดที่แตกต่างกันนี้นำมาซึ่ง ลักษณะการวางผังเส้นทางสัญจรภายในหน่วยงานผ่าตัด และการเชื่อมต่อกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องแตกต่างกันตามออกไปด้วย ทั้งนี้ในการศึกษาจะเลือกใช้ หน่วยงานผ่าตัด อาคารสยามินทร์ โรงพยาบาลศิริราช และหน่วยงานผ่าตัด อาคาร 1 โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นกรณีศึกษารูปแบบการวางผังเส้นทางสัญจรในหน่วยงานผ่าตัดแบบ PCS และ SSC ตามลำดับ จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบผ่านลักษณะทางสถาปัตยกรรม เส้นทางสัญจรและข้อจำกัดของรูปแบบการวางผังเส้นทางสัญจร ในหน่วยงานผ่าตัดแบบ PCS และแบบ SSC นำมาซึ่งผลสรุปเรื่องความเหมาะสมในการใช้งานที่แตกต่างกันคือ รูปแบบ PCS เป็นรูปแบบที่เหมาะสมกับอาคารสถานพยาบาลขนาดใหญ่ ที่จำเป็นต้องมีการแยกหน่วยงานผ่าตัดตามประเภทการผ่าตัด และสมควรตั้งหน่วยงานผ่าตัดแต่ละประเภทรวมกันเป็นอาคารผ่าตัด ในขณะที่รูปแบบ SSC เหมาะสมกับอาคารสถานพยาบาลขนาดเล็กไม่เกิน 500 เตียง หากเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่หน่วยงานผ่าตัดแยกประเภทตามการผ่าตัด แต่ละหน่วยงานสามารถตั้งแยกออกจากกันได้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่บุคลากรแต่ละภาควิชาสามารถเข้าถึงหน่วยงานผ่าตัดของตนเองได้ง่าย จากผลสรุปจากการศึกษานี้สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการเลือกรูปแบบ การวางผังเส้นทางสัญจรในหน่วยงานผ่าตัดให้เหมาะสมและตรงต่อความต้องการ ทั้งในโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชนต่อไปได้ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |