![]() |
หน่วยสร้างแสดงเหตุการณ์ 3 หน่วยร่วมในภาษาไทย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | หน่วยสร้างแสดงเหตุการณ์ 3 หน่วยร่วมในภาษาไทย |
Creator | สุธาทิพย์ เหมือนใจ |
Contributor | กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ภาษาไทย -- การใช้ภาษา, ภาษาไทย -- บุรพบท, ไวยากรณ์ปริชาน, Thai language -- Usage, Thai language -- Prepositions, Cognitive grammar |
Abstract | วิเคราะห์ 1) ประเภทของเหตุการณ์ที่แสดงโดยหน่วยสร้างแสดงเหตุการณ์ 3 หน่วยร่วมในเชิงแบบลักษณ์ภาษา 2) กลวิธีการแสดงรูปภาษาของเหตุการณ์ 3 หน่วยร่วมในภาษาไทย และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาททางความหมายกับหน้าที่ทางไวยากรณ์ของหน่วยร่วมเหตุการณ์แต่ละหน่วย ในหน่วยสร้างแสดงเหตุการณ์ 3 หน่วยร่วมในภาษาไทย ผู้วิจัยศึกษาภายใต้กรอบทฤษฎีภาษาศาสตร์ปริชาน โดยใช้ข้อมูลที่เป็นภาษาใช้จริงจากคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติฯ ผลการวิจัยพบว่า เหตุการณ์ 3 หน่วยร่วมประกอบด้วยประเภทเหตุการณ์ในเชิงแบบลักษณ์ภาษาทั้งหมด 9 ประเภท ได้แก่ 1) เหตุการณ์การถ่ายโอน 2) เหตุการณ์การทำให้เคลื่อนที่ 3) เหตุการณ์การสื่อสาร 4) เหตุการณ์การขอการครอบครอง 5) เหตุการณ์การได้รับการครอบครอง 6) เหตุการณ์การไม่ยอมให้มีการถ่ายโอน 7) เหตุการณ์การทำให้สูญเสียการครอบครอง 8) เหตุการณ์การสร้างสรรค์ให้ และ 9) เหตุการณ์การกระทำด้วยเครื่องมือ เหตุการณ์ 3 หน่วยร่วมในภาษาไทยแสดงรูปภาษาได้เป็น 2 แบบหลักคือ (ก) หน่วยสร้างแบบมีคำบ่งชี้ และ (ข) หน่วยสร้างแบบไม่มีคำบ่งชี้ หน่วยสร้างแบบมีคำบ่งชี้ประกอบด้วยคำบ่งชี้ที่เป็น (1) คำกริยาที่ผ่านกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์ ได้แก่ ให้ ต่อ สู่ ถึง เข้า ใส่ ลง จาก ใช้ (2) คำบุพบท ได้แก่ แก่ กับ เพื่อ ด้วย ของ และ (3) คำกริยาประสมระหว่างคำกริยาเรียงที่ผ่านกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์และคำบุพบท ได้แก่ ให้แก่ ให้กับ ลงบน ลงใน หน่วยสร้างแสดงเหตุการณ์ 3 หน่วยร่วมแบบมีคำบ่งชี้ และแบบไม่มีคำบ่งชี้ในภาษาไทยแสดงเหตุการณ์ 3 หน่วยร่วมเหมือนกัน แต่มีความหมายเชิงปริชานที่สะท้อนมุมมองต่อเหตุการณ์ (construal) แตกต่างกัน ความหมายเชิงปริชานหรือการมองเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นกลไกทางปริชาน ที่มีผลต่อการแสดงรูปภาษาเหตุการณ์ 3 หน่วยร่วมในภาษาไทย นอกจากนี้ภาษาไทยแสดงรูปเหตุการณ์ 3 หน่วยร่วมโดยใช้กลวิธีทางภาษา 5 แบบ ได้แก่ 1) กลวิธีการใช้อาร์กิวเมนต์แกนหลัก 2) กลวิธีการใช้การผูกติดกับคำนาม 3) กลวิธีการใช้อาร์กิวเมนต์แกนการกอ้อม 4) กลวิธีการใช้กริยาเรียง และ 5) กลวิธีการใช้คำกริยาที่ผ่านกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์และคำบุพบท ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาททางความหมาย และหน้าที่ทางไวยากรณ์ของหน่วยร่วมเหตุการณ์มีลักษณะหลากหลาย โดยหน้าที่ทางไวยากรณ์หนึ่งสามารถมีบทบาททางความหมายได้หลากหลายบทบาท ดังนี้ 1) ประธาน มีบทบาททางความหมาย ผู้กระทำ และเป้าหมาย 2) กรรมตรง มีบทบาททางความหมาย ผู้ร่วมแกนกลาง และ แหล่งที่มา 3) กรรมรอง มีบทบาททางความหมาย เป้าหมาย แหล่งที่มา และเครื่องมือ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |