![]() |
การพัฒนาอัตลักษณ์นิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การพัฒนาอัตลักษณ์นิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา |
Creator | สุภัชฌาน์ ศรีเอี่ยม |
Contributor | พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์, วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | นักศึกษา, อัตลักษณ์, Students, Identity (Philosophical concept) |
Abstract | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายและการวิจัยกึ่งทดลองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาอัตลักษณ์นิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (2) พัฒนาอัตลักษณ์นิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (3) เปรียบเทียบผลการพัฒนาอัตลักษณ์นิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ประชากรคือนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาในชั้นปีที่ 1 ทั้งสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน จำนวน 49,431 คน กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ทั้งสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย คำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางยามาเน่ (Yamane) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และมีความคลาดเคลื่อน ±4% ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 621 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างสำหรับการทดลองคือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบวัดการมีอัตลักษณ์นิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา และกระบวนการพัฒนาอัตลักษณ์นิสิตนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา สถิติเชิงบรรยายคือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ (1) การศึกษาอัตลักษณ์นิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาปัจจุบัน พบว่าอัตลักษณ์นิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาด้านต่างๆ ในภาพรวมอัตลักษณ์ด้านบวกอยู่ในระดับจริงมาก ส่วนในภาพรวมอัตลักษณ์ด้านลบอยู่ในระดับจริงปานกลาง (2) การพัฒนาอัตลักษณ์นิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วย 1) เป้าหมาย เพื่อให้นิสิตนักศึกษามีพัฒนาการในด้านอัตลักษณ์ด้านเฉพาะบุคคล อัตลักษณ์ด้านสังคม อัตลักษณ์ด้านการดำเนินชีวิต และอัตลักษณ์ด้านวิชาการ 2) การประเมินสภาพปัญหา โดยประเมินสภาพปัญหาจากองค์กรและผู้รับผิดชอบ ทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและระดับคณะ 3) การการหาความจำเป็นในการฝึกอบรม ได้แก่ การสร้างโปรแกรมฝึกอบรม การกำหนดกิจกรรม การบริหารกิจกรรม การประเมินผลการฝึกอบรม 4) การประเมินผล โดยประเมินในแต่ละกิจกรรมและในภาพรวมของการพัฒนาอัตลักษณ์นิสิตนักศึกษา (3) การเปรียบเทียบผลการพัฒนาอัตลักษณ์นิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา โดย (3.1) นักศึกษากลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมฝึกอบรมพัฒนาอัตลักษณ์นิสิตนักศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยแตกต่างกับกลุ่มควบคุมโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3.2) นักศึกษากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยอัตลักษณ์นิสิตนักศึกษาหลังการอบรมแตกต่างกับก่อนการอบรมโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |