แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐานตามแนวคิดพิพัฒนาการหน้าที่นิยม เพื่อเสริมสร้างทักษะสำคัญของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นร่วมกับความบกพร่องอื่น
รหัสดีโอไอ
Title แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐานตามแนวคิดพิพัฒนาการหน้าที่นิยม เพื่อเสริมสร้างทักษะสำคัญของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นร่วมกับความบกพร่องอื่น
Creator สามารถ รัตนสาคร
Contributor อลิศรา ชูชาติ, เบญจา ชลธาร์นนท์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา, การวางแผนหลักสูตร, การศึกษาพิเศษ -- หลักสูตร, Children with visual disabilities, Curriculum planning, Special education -- Curriculum
Abstract พัฒนาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐาน ตามแนวคิดพิพัฒนาการหน้าที่นิยม และการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล เพื่อเสริมสร้างทักษะสำคัญของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นร่วมกับความบกพร่องอื่น และเพื่อศึกษาผลของการใช้แนวทางการพัฒนาหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 การพัฒนาแนวทางการพัฒนาหลักสูตร และระยะที่ 2 ศึกษาผลของการใช้แนวทางการพัฒนาหลักสูตร โดยนำไปทดลองใช้ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กับโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดและคนตาบอดพิการซ้ำซ้อน ลพบุรี และทดลองใช้หลักสูตรสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้นกับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 ถึง 6 จำนวน 39 คน ประเมินและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางด้านทักษะสำคัญของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้ความถี่ ร้อยละ การสัมภาษณ์ผู้ปกครอง เพื่อศึกษาความพึงพอใจเกี่ยวกับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของนักเรียน และการสัมภาษณ์ผู้บริหารและครูผู้สอน เพื่อศึกษาการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แนวทางการพัฒนาหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยหลักการสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยคำนึงถึงความต้องการจำเป็นทั้งในปัจจุบันและอนาคตของนักเรียน รวมทั้งทักษะที่นักเรียนสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตภายหลังจบการศึกษา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้และการแสดงความก้าวหน้าตามหลักสูตรของนักเรียน และการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการพัฒนาหลักสูตร ของบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาและวิถีชีวิตของนักเรียน การพัฒนาหลักสูตรตามแนวทางที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวางแผนการดำเนินงาน เพื่อกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และการศึกษาความต้องการจำเป็นของผู้เรียนจากผู้เกี่ยวข้อง นำมาสู่การกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายของหลักสูตร 2) การปรับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อพัฒนาเป็นหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของนักเรียน 3) การนำหลักสูตรสถานศึกษาไปใช้ และ 4) การประเมินประสิทธิผลของหลักสูตร 2. สถานศึกษาสามารถนำแนวทางการพัฒนาหลักสูตรไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และผลจากการนำหลักสูตรสถานศึกษาไปทดลองใช้ พบว่า 2.1 นักเรียนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ และมีพัฒนาการตามเป้าหมายของหลักสูตร โดยก่อนการทดลองพบว่า มีนักเรียนเพียง 15.38% ที่มีความสามารถในการปฏิบัติทักษะสำคัญในภาพรวมอยู่ในระดับดี และหลังการทดลองพบว่า มีนักเรียน 44.44% ที่มีความสามารถในการปฏิบัติทักษะสำคัญในภาพรวมอยู่ในระดับดี 2.2 ผู้ปกครองมีความพึงพอใจและมีความเชื่อมั่นในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน ที่สามารถพัฒนานักเรียนให้มีความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันได้มากขึ้น 2.3 ครูผู้สอนมีความมั่นใจในการนำหลักสูตรสถานศึกษาไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของนักเรียนและดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ