![]() |
ผลของการใช้โปรแกรมการพัฒนาความสามารถทางสังคม โดยใช้กระบวนการละครสำหรับนักเรียนออทิสติก |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ผลของการใช้โปรแกรมการพัฒนาความสามารถทางสังคม โดยใช้กระบวนการละครสำหรับนักเรียนออทิสติก |
Creator | เรวดี สันถวไมตรี |
Contributor | ชนิศา ตันติเฉลิม |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ออทิซึมในเด็ก, ทักษะทางสังคมในเด็ก, ละครเพื่อการศึกษา, Autism in children, Social skills in children, Drama in education |
Abstract | ศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาความสามารถทางสังคม โดยใช้กระบวนการละครสาหรับนักเรียนออทิสติกที่มีความบกพร่องน้อย และเรียนร่วมเต็มเวลาอยู่ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม โปรแกรมฯ ประกอบด้วยกิจกรรม 15 ครั้งๆ ละ 1 ชั่วโมง 40 นาที ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลที่หลากหลายเพื่อให้ครอบคลุมในการตอบคำถามวิจัย โดยแบ่งการรวบรวมข้อมูลเป็น 4 ส่วน ดังนี้ 1) สังเกตพฤติกรรม การเรียนรู้พฤติกรรม การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและผลการทำใบงานกิจกรรมของกลุ่มตัวอย่าง ระหว่างเข้าโปรแกรมฯ 2) ทดสอบความสามารถในการรับรู้อารมณ์ของผู้อื่นของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังเข้าโปรแกรมฯ 3) สังเกตจำนวนช่วงเวลาการเกิดพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเชิงบวกและเชิงลบ ในช่วงเวลาเรียนและช่วงเวลาอิสระของกลุ่มตัวอย่าง ขณะที่ทำกิจกรรมในโรงเรียนก่อน ระหว่างและหลังเข้าโปรแกรมฯ และ 4) สัมภาษณ์ความคิดเห็นและสำรวจการให้คะแนนความพึงพอใจของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ปกครอง อาจารย์โครงการการศึกษาพิเศษฯ อาจารย์ประจาชั้นและเพื่อน ต่อพฤติกรรมการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังเข้าโปรแกรมฯ ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 คน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นส่วนมาก สามารถบอกแนวทางในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับ การทักทาย การสนทนา การปฏิบัติตามข้อตกลง การอยู่ร่วมกับผู้อื่น การรอคอย และการรับมือกับปัญหาได้อย่างถูกต้อง 2) กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 คน มีคะแนนจากแบบทดสอบความสามารถในการรับรู้ทางอารมณ์ของผู้อื่นสูงขึ้นกว่าก่อนเข้าโปรแกรมฯ 3) กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 คน มีร้อยละของจานวนช่วงเวลาที่เกิดพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเชิงบวกสูงขึ้น และมีร้อยละของจำนวนช่วงเวลาที่เกิดพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเชิงลบลดลงหลังเข้าโปรแกรมฯ และ 4) กลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 คน มีคะแนนเฉลี่ยของความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ต่อพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการทักทาย การสนทนา การปฏิบัติตามข้อตกลง การอยู่ร่วมกับผู้อื่น การรอคอย และการรับมือกับปัญหาของกลุ่มตัวอย่างสูงขึ้น หลังเข้าโปรแกรมฯ และผู้เกี่ยวข้องให้ความคิดเห็นเชิงบวกต่อพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของกลุ่มตัวอย่าง |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |