![]() |
การโก่งเดาะของเหล็กเสริมตามยาวที่มีการค้ำยันทางด้านข้างโดยเหล็กเสริมตามขวาง |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การโก่งเดาะของเหล็กเสริมตามยาวที่มีการค้ำยันทางด้านข้างโดยเหล็กเสริมตามขวาง |
Creator | พรพรรณ วงศ์เมืองแก่น |
Contributor | อาณัติ เรืองรัศมี |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก, เสาคอนกรีต, การโก่ง (กลศาสตร์), Buildings, Reinforced concrete, Columns, Concrete, Buckling (Mechanics) |
Abstract | องค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก เมื่อได้รับแผ่นดินไหวรุนแรง จะเกิดการแตกร้าวขึ้นในเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก เมื่อเสาคอนกรีตเสริมเหล็กสูญเสียกำลังในการรับแรง เหล็กเสริมจึงต้องเป็นโครงสร้างหลักในการทำหน้าที่รับแรงดึงและแรงอัด และเป็นตัวควบคุมพฤติกรรมของเสาหลังการแตกร้าว ในงานวิจัยนี้มุ่งศึกษาพฤติกรรมของเหล็กเสริมตามยาวที่มีการค้ำยันของเหล็กเสริมตามขวาง เมื่อรับแรงอัดแบบทิศทางเดียว และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเหล็กเสริมตามยาวและเหล็กเสริมตามขวางเมื่อเกิดการโก่งเดาะ โดยใช้แบบจำลองไฟเบอร์ การจำลองเหล็กเสริมตามยาวได้กำหนดให้ปลายด้านล่างของแบบจำลองมีจุดรองรับเป็นแบบยึดแน่น ปลายด้านบนยอมให้มีการเคลื่อนที่ในแนวแกนเนื่องจากแรงอัด พิจารณาแบบจำลองการโก่งเดาะของเหล็กเสริมเป็น 2 กรณี คือ แบบจำลองการโก่งเดาะของเหล็กเสริมตามยาวแบบช่วงเดียว ที่ไม่พิจารณาผลของการค้ำยันทางด้านข้าง และแบบจำลองเหล็กเสริมตามยาว ที่พิจารณาผลการค้ำยันทางด้านข้างด้วยเหล็กปลอก โดยจำลองพฤติกรรมการยึดรั้งของเหล็กปลอกเป็นจุดรองรับแบบสปริง โดยมีค่าสติฟเนสต้านทานการเสียรูปทางด้านข้าง ทำการวิเคราะห์พฤติกรรมการโก่งเดาะ จากค่าพารามิเตอร์ต่างๆดังนี้ เหล็กเสริมยืนขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 10, 12 และ 20 มิลลิเมตร ที่อัตราส่วนความยาวต่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4, 5, 6, 8, 10 และ 12 นำเสนอผลที่ได้จากการวิเคราะห์ในรูปของความสัมพันธ์ความเค้นกับความเครียด, ค่าความสัมพันธ์ความเค้นอัดที่อัตราส่วนความยาวต่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ต่อความเค้นดึง กับความเครียด และอัตราส่วนค่าสติฟเนสในแนวแกนของเหล็กเสริมยืนกับอัตราส่วนค่าสปริงสติฟเนสของสปริง ซึ่งมีผลต่อพฤติกรรมของแบบจำลองที่พิจารณาผลของการค้ำยันทางด้านข้าง |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |