การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสู่ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ
รหัสดีโอไอ
Title การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสู่ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ
Creator พิชญ์ รัตนเพียร
Contributor พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์, สิริฉันท์ สถิรกุล เตชพาหพงษ์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword สถาบันอุดมศึกษาเอกชน, ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา, Private universities and colleges, College administrators
Abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์เส้นทางการเข้าสู่ตำแหน่งและการบริหารงานของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 2) วิเคราะห์คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนมืออาชีพ 3) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาผู้บริหารมืออาชีพของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 4) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยกลุ่มข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 15 คน กลุ่มผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนจำนวน 486 คนโดยจำแนกตามระดับมหาวิทยาลัยจำนวน 103 คน ระดับคณะจำนวน 188 คน ระดับภาควิชาจำนวน 195 คน ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยโดยตรวจสอบความเที่ยงตรงทางเนื้อหา (Content validity) ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างคำถามเท่ากับ 1.00 ค่าความเที่ยง (Reliability) โดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคจำแนกตามระดับได้ดังนี้ ระดับมหาวิทยาลัยเท่ากับ .909 ระดับคณะเท่ากับ .927 ระดับภาควิชาเท่ากับ .969 การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ทั้งแบบเชิงปริมาณและแบบเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เอกสาร (Content analysis) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory factor analysis) วิเคราะห์เนื้อหาจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ (Connoisseurship) ตรวจสอบรับรองรูปแบบการพัฒนาผู้บริหาร และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สู่ความเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบที่สกัดได้จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนระดับมหาวิทยาลัยมี 16 องค์ประกอบ โดยองค์ประกอบด้านผู้สนับสนุน สามารถอธิบายความแปรปรวน (% of Variance) ของตัวแปรได้มากที่สุดร้อยละ 21.285 ระดับคณะมี 14 องค์ประกอบ โดยองค์ประกอบด้านผู้มุ่งมั่น สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรได้มากที่สุดร้อยละ 25.874 ระดับภาควิชามี 10 องค์ประกอบ โดยองค์ประกอบด้านนักวิชาการ สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรได้มากที่สุดร้อยละ 40.923 ผลการวิจัยยังพบอีกว่าสมรรถนะขั้นพื้นฐาน (Fundamental competency) ของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนทุกระดับใช้ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ (Human skills) มากที่สุด รองลงมาคือ ทักษะด้านการคิด (Conceptual skills) และทักษะเฉพาะด้าน (Technical skills) ตามลำดับ ส่วนสมรรถนะตามหน้าที่ (Functional competency) ของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนระดับมหาวิทยาลัย คือ มีความรู้ด้านการบริหารอุดมศึกษา ระดับคณะ คือ มีทักษะด้านการบริหาร ระดับภาควิชา คือ มีความรู้ดีในระเบียบข้อบังคับของสถาบันเป็นอย่างดี ผลการรับรองรูปแบบการพัฒนาผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา สู่ความเป็นมืออาชีพมีความเหมาะสม และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาโดยแบ่งเป็นระดับชาติ
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ