![]() |
การพัฒนาหลักสูตรลูกเสือสามัญตามแนวคิดการผจญภัยศึกษา ของลอร์ด บาเด็น พาวเวลล์ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและทักษะการอยู่รอดของนักเรียนประถมศึกษา |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การพัฒนาหลักสูตรลูกเสือสามัญตามแนวคิดการผจญภัยศึกษา ของลอร์ด บาเด็น พาวเวลล์ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและทักษะการอยู่รอดของนักเรียนประถมศึกษา |
Creator | ไพฑูรย์ ฤทธิ์กระโทก |
Contributor | สำลี ทองธิว, สมบูรณ์ อินทร์ถมยา |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | การวางแผนหลักสูตร, ลูกเสือ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา), ลูกเสือ -- หลักสูตร, ผจญภัยศึกษา, Curriculum planning, Boy scouts -- Study and teaching (Elementary), Boy scouts -- Curricula, Adventure education |
Abstract | พัฒนาหลักสูตรลูกเสือสามัญตามแนวคิดการผจญภัยศึกษาของ ลอร์ด บาเด็น พาวเวลล์ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและทักษะการอยู่รอดของนักเรียนประถมศึกษา และประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรลูกเสือสามัญ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 30 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ใช้เวลาในการทดลองภาคความรู้และฝึกปฏิบัติย่อย 20 สัปดาห์ และปฏิบัติกิจกรรมภาคสนามโดยการอยู่ค่ายพักแรม 4 วัน 3 คืน รวม 61 ชั่วโมง วิธีการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การทดสอบความรู้ความเข้าใจในสาระตามหลักสูตรลูกเสือสามัญ การทดสอบด้านการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหา การสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของนักเรียนในขณะปฏิบัติกิจกรรม การตอบแบบสอบถามด้านการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหา และการเขียนบันทึกการเรียนรู้ ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ซึ่งผลการวิจัยมีดังนี้ 1. หลักสูตรลูกเสือสามัญตามแนวคิดการผจญภัยศึกษาของ ลอร์ด บาเด็น พาวเวลล์ เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและทักษะการอยู่รอดของนักเรียนประถมศึกษา มีองค์ประกอบ 10 องค์ประกอบ ได้แก่ วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ของหลักสูตร สาระของหลักสูตร คำอธิบายของหลักสูตร หน่วยการเรียนรู้/หน่วยการเรียนรู้ย่อย โครงสร้างเวลาเรียน แนวทางการจัดการเรียนรู้ แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้ โครงสร้างของหลักสูตรได้พัฒนาขึ้นจากข้อมูลสภาพพื้นที่และปัญหาในชุมชน ข้อมูลความต้องการและสภาพปัญหาในชีวิตจริงของผู้เรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ตามแนวคิดการผจญภัยศึกษาของ ลอร์ด บาเด็น พาวเวลล์ ที่มุ่งให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืนโดยการมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมในสถานจริง ด้วยการลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่ส่งเสริมให้มีชีวิตอยู่รอดได้ เนื้อหาที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยสาระใหญ่ๆ 3 สาระ คือ 1) ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 2) การดูแลช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นเมื่อเผชิญภัยพิบัติทางธรรมชาติ และ 3) การดำรงชีวิตขณะตกอยู่ในสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 2. ผลจากการทดลองใช้หลักสูตรลูกเสือสามัญตามแนวคิดการผจญภัยศึกษาของ ลอร์ด บาเด็น พาวเวลล์ พบว่า หลังการทดลองใช้หลักสูตรลูกเสือสามัญตามแนวคิดการผจญภัยศึกษาของ ลอร์ด บาเด็น พาวเวลล์ ผู้เรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ความเข้าใจในสาระตามหลักสูตรสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผู้เรียนมีทักษะการอยู่รอดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติด้านการควบคุมสติ การตัดสินใจ ความเป็นผู้นำ การแบ่งหน้าที่ปฏิบัติงาน และการปฏิบัติงานตามเวลาที่กำหนด โดยแต่ละด้านมีระดับของพฤติกรรมอยู่ 4 ระดับ ได้แก่ ไม่แสดงพฤติกรรมการอยู่รอดเลย แสดงพฤติกรรมการอยู่รอดโดยดูตัวอย่างจากผู้อื่น แสดงพฤติกรรมการอยู่รอดภายใต้คำแนะนำของผู้อื่น และแสดงพฤติกรรมการอยู่รอดได้ด้วยตนเอง ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ผู้เรียนมีพัฒนาการทางทักษะการอยู่รอดสูงขึ้น โดยผู้เรียนมีพฤติกรรมการอยู่รอดภายใต้การแนะนำของผู้อื่น |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |