![]() |
แนวทางการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | แนวทางการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ |
Creator | ยศถกล โกศลเหมมณี |
Contributor | พันธุมดี เกตะวันดี |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ดนตรีพื้นบ้าน -- ไทย (ภาคใต้), วัฒนธรรม, Folk music -- Thailand, Southern, Culture |
Abstract | วิทยานิพนธ์ แนวทางการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อทราบถึงคุณค่าที่พึงประสงค์ของวงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ ๒) เพื่อทราบปัญหาในการเพิ่มมูลค่าของวงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ในในสภาวการณ์ปัจจุบัน ๓) เพื่อหาแนวทางการเพิ่มมูลค่าวงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ภายใต้กรอบคุณค่าที่พึงประสงค์ วิธีการดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีการเก็บรวบรวมจากเอกสารต่างๆ และการวิจัยภาคสนาม สังเกต สัมภาษณ์เชิงลึก โดยศึกษาจากวงดนตรี ๖ ประเภท ได้แก่ วงดนตรีในการแสดงหนังตะลุง วงดนตรีในการแสดงโนรา วงดนตรีในการแสดงรองเง็ง วงดนตรีดีเกร์ฮูลู วงดนตรีในการแสดงสีละ และวงดนตรีกาหลอ โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เป็นแนวทางแก้ปัญหาประกอบกับแนวคิดวิวัฒนาการ คุณค่าศิลปกรรมท้องถิ่น สินค้าวัฒนธรรม และส่วนผสมการตลาด ผลการวิจัยพบว่าคุณค่าที่พึงประสงค์ของวงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ได้แก่ ๑) วงดนตรีต้องมีศักยภาพในการใช้ประกอบการทำพิธีกรรม การแสดง และการร้อง ๒) วงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ก่อให้เกิดความสมบูรณ์ในพิธีกรรม ด้วยการสร้างความรู้สึกร่วม ระหว่างผู้ประกอบพิธีกรรม และผู้ร่วมพิธีกรรม เกิดบรรยากาศที่มีมนต์ขลัง มีความศักดิสิทธิ์และน่าเชื่อถือ ๓) วงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ต้องสามารถทำให้ดนตรีมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับการแสดง อันก่อให้เกิดความสมบูรณ์ในการแสดง และการสร้างความรู้สึกร่วมระหว่างผู้แสดง และผู้ชม ๔) วงดนตรีสามารถสร้างความไพเราะ กลมกลืน และถูกต้องตามหลักวิธีการแสดงนั้น ๕) วงดนตรีสามารถช่วยให้การแสดงสะท้อนความเชื่อ และเรื่องราวของท้องถิ่น ๖) วงดนตรีสามารถแสดงถึงเอกลักษณ์ของรูปแบบการผสมวง บทเพลงและภาษาและสำเนียงในการร้องและเครื่องดนตรีที่ใช้ ๗) วงดนตรีแสดงออกถึงลีลาจังหวะ ทำนอง และสำเนียงในการบรรเลง รวมถึงขั้นตอนอันเป็นเอกลักษณ์ ๘) วงดนตรีเป็นสัญลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น สะท้อนวัฒนธรรมการใช้ชีวิต ๙) วงดนตรีและการแสดงสามารถเป็นสื่อชี้นำจริยธรรม และนักดนตรีประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคคลในท้องถิ่น ผลการศึกษาพบว่า วงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้มีรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าที่พึงประสงค์กับมูลค่าทางเศรษฐกิจ ๕ ลักษณะคือ๑)กลุ่มมีการปรับแต่งเพื่อให้ได้รับความนิยมแต่สูญเสียคุณค่าที่พึงประสงค์ ๒)กลุ่มที่มีแนวโน้มสูญเสียคุณค่าจากการปรับแต่งเพื่อเพิ่มมูลค่า ๓) กลุ่มที่รักษาคุณค่าที่พึงประสงค์และมีแนวโน้มเสื่อมความนิยมตามยุคสมัย๔) กลุ่มที่ไม่มีการใช้ประโยชน์ในท้องถิ่น๕)กลุ่มที่เกิดการใช้ประโยชน์รูปแบบใหม่ โดยมีปัจจัยสำคัญได้แก่แนวคิดของหัวหน้าคณะการแสดง ทัศนคติและค่านิยมของท้องถิ่น และแนวขนบปฏิบัติของตัวพิธีกรรมและการแสดง แนวทางการเพิ่มมูลค่าวงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ประกอบด้วยข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญดนตรีและการแสดงพื้นบ้านภาคใต้ นักดนตรีพื้นบ้านภาคใต้และองค์กรที่ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มมูลค่าวงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ ร่วมกับการเสนอกลยุทธ์ในการเพิ่มมูลค่าภายใต้กรอบคุณค่าที่พึงประสงค์ที่สอดคล้องกับกลุ่มปัญหา ได้แก่ การจูงใจหัวหน้าคณะ การจัดเก็บกลุ่มวงดนตรีและการแสดงที่เป็นมาตรฐาน การแสดงในพื้นที่ท่องเที่ยวและการแยกพัฒนาเฉพาะดนตรี |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |