![]() |
พัฒนาการและสุนทรียทัศน์ในการสร้างสรรค์บทละครในโทรทัศน์ไทย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | พัฒนาการและสุนทรียทัศน์ในการสร้างสรรค์บทละครในโทรทัศน์ไทย |
Creator | สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์ |
Contributor | ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ละครโทรทัศน์ไทย, สุนทรียศาสตร์, การสร้างสรรค์ (วรรณกรรม ศิลปกรรม ฯลฯ), Television plays, Thai, Aesthetics, Creation (Literary, artistic, etc.) |
Abstract | ศึกษาพัฒนาการและสุนทรียทัศน์ในการสร้างสรรค์บทละครในโทรทัศน์ไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ ในการค้นคว้าข้อมูลเอกสารของนักการละครโทรทัศน์รวมกว่า 50 คน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508-2553 ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สร้างสรรค์บทละครโทรทัศน์ยุคสมัยต่างๆ ทั้ง 5 ยุค ได้แก่ ยุคบุกเบิก ยุคภาพยนตร์โทรทัศน์ ยุคขยายตัว ยุคเฟื่องฟู และยุคโลกาภิวัตน์ รวม 25 คน และใช้การสังเกตอย่างมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์บทละครโทรทัศน์ ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการและสุนทรียทัศน์ในการสร้างสรรค์บทละครในโทรทัศน์ไทย มีผลสืบเนื่องมาจากบริบทของเทคโนโลยีการสื่อสาร โดยละครโทรทัศน์ในยุคบุกเบิกนิยมแสดงในห้องส่งและออกอากาศสด มีการบอกบทนักแสดง เป็นละครชุดจบในตอนภายใต้แนวคิดเดียวกัน สร้างสรรค์บทละครขึ้นใหม่ แนวเรื่องเป็นละครชีวิต นักเขียนบทส่วนใหญ่เป็นนักเขียนวรรณกรรมและบทละครเวที ต่อมาในยุคภาพยนตร์โทรทัศน์ ถ่ายทำด้วยฟิล์ม 16 มม. ออกอากาศทางโทรทัศน์โดยใช้การพากย์ เป็นภาพยนตร์ชุดขนาดยาว สร้างสรรค์บทละครขึ้นใหม่ แนวเรื่องส่วนใหญ่เป็นละครแนวชีวิตเชิงสังคม แนวภูตผี และแนวจักรๆ วงศ์ๆ ผู้กำกับภาพยนตร์เป็นผู้เขียนบทเอง ละครโทรทัศน์ในยุคขยายตัวถ่ายทำด้วยวิดีโอเทปในห้องส่งและนักแสดงจำบทเอง เป็นละครเรื่องยาวหลายตอนจบ สร้างสรรค์บทละครขึ้นใหม่ มีแนวเรื่องที่หลากหลาย ส่วนใหญ่เป็นละครชีวิต นักเขียนบทละครโทรทัศน์ส่วนใหญ่เป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษา ละครโทรทัศน์ในยุคเฟื่องฟู ถ่ายทำด้วยวิดีโอเทปนอกสถานที่ เป็นละครเรื่องยาวหลายตอนจบ โดยดัดแปลงบทละครโทรทัศน์จากนวนิยายเป็นหลัก แนวเรื่องเป็นละครเริงรมย์ นักเขียนบทส่วนใหญ่เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ละครโทรทัศน์ในยุคโลกาภิวัตน์ ถ่ายทำด้วยวิดีโอเทป มีการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกในการผลิต ละครโทรทัศน์ส่วนใหญ่เป็นละครเรื่องยาวหลายตอนจบ บทละครโทรทัศน์มีทั้งสร้างสรรค์ใหม่และบทละครดัดแปลง โดยเป็นละครแนวชีวิตและแนวต่อสู้ นักเขียนบทส่วนใหญ่ทำงานเป็นกลุ่มและมีภูมิหลังที่หลากหลาย จะเห็นได้ว่ายุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ละครโทรทัศมีเทคโนโลยีการถ่ายทำที่ความเจริญก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ แต่เนื้อหาของบทละครโทรทัศน์ก็ยังคงวนเวียนกับละครแนวชีวิตที่มีแก่นเรื่องเกี่ยวกับความรัก และความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว สะท้อนให้เห็นพฤติกรรมคนไทยที่นิยมดูละครโทรทัศน์เพื่อ ‘เอารส’ มากกว่า ‘เอาเรื่อง’ อันเป็นการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |