![]() |
ผลของการกระตุ้นไฟฟ้าประสาทกล้ามเนื้อ ต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดข้อเข่า และประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | ผลของการกระตุ้นไฟฟ้าประสาทกล้ามเนื้อ ต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดข้อเข่า และประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม |
Creator | พนิดา ไชยมิ่ง |
Contributor | พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์, ดุจใจ ชัยวานิชศิริ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | ข้อเข่า -- ศัลยกรรม, การเปลี่ยนข้อเข่า, การรักษาด้วยไฟฟ้า, การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า, โรคกล้ามเนื้อร่วมประสาท, Knee -- Surgery, Total knee replacement, Electrotherapeutics, Electric stimulation, Neuromuscular diseases |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาไปข้างหน้าเชิงทดลองเปรียบเทียบแบบสุ่ม (a prospective randomized controlled trial) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการกระตุ้นไฟฟ้าประสาทกล้ามเนื้อเข้ากับโปรแกรมการออกกำลังกาย ต่อการเพิ่มความแข็งแรงและประสิทธิภาพในการทำงานของกล้ามเนื้อเหยียดข้อเข่า และประสิทธิภาพในการทำกิจวัตรประจำวัน และเปรียบเทียบผลดังกล่าวกับโปรแกรมออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม 10 และ 16 สัปดาห์ ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นอาสาสมัครผู้ป่วยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม ซึ่งกำลังเข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จำนวน 16 คน เพศชาย 2 คน เพศหญิง 14 คน โดยสุ่มเข้ากลุ่มที่ได้รับการกระตุ้นไฟฟ้าประสาทกล้ามเนื้อเสริมเข้ากับโปรแกรมการออกกำลังกาย หรือกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว โดยจะมีการวัดตัวแปรต่างๆ ได้แก่ ความแข็งของกล้ามเนื้อเหยียดข้อเข่า องศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่า เวลาที่ใช้ในการลุกเดิน และความเร็วในการเดิน และประสิทธิภาพการใช้ชีวิตประจำวัน (WOMAC และ SF-36) จำนวน 4 ครั้ง คือ ก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม 4, 10 และ 16 สัปดาห์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ว่า หลังจากการผ่าตัด 4 สัปดาห์ ทั้งสองกลุ่มมีความแข็งแรงและประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อเหยียดข้อเข่า และประสิทธิภาพการใช้ชีวิตประจำวันลดลงเมื่อเทียบกับก่อนผ่าตัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม 10 และ 16 สัปดาห์ ความแข็งแรงและประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อเหยียดข้อเข่าเพิ่มขึ้น และประสิทธิภาพการใช้ชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับหลังผ่าตัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่า หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม 10 และ 16 สัปดาห์ กลุ่มที่ได้รับการกระตุ้นไฟฟ้ามีความเร็วในการเดิน และองศาในการงอข้อเข่ามากกว่ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว แต่ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเหยียดข้อเข่าไม่มีความแตกต่างกันระหว่างสองกลุ่ม |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |