ระบบควบคุมการปลดปล่อยสารสกัดจากเนื้อฟันที่ทำจากเจลาติน/ไฟโบรอินไหมไทย : การศึกษาในห้องปฎิบัติการ
รหัสดีโอไอ
Title ระบบควบคุมการปลดปล่อยสารสกัดจากเนื้อฟันที่ทำจากเจลาติน/ไฟโบรอินไหมไทย : การศึกษาในห้องปฎิบัติการ
Creator วริทธิ์ อนุชิราชีวะ
Contributor โศรดา กนกพานนท์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword ฟัน -- การสกัด, การย้ายปลูกกระดูก, วิศวกรรมเนื้อเยื่อ, เทคโนโลยีการควบคุมการปลดปล่อย, เนื้อเยื่อสังเคราะห์, เซริซิน, Teeth -- Extraction, Bone-grafting, Tissue engineering, Controlled release technology, Tissue scaffolds, Sericin
Abstract งานวิจัยนี้มุ่งเน้นในการสกัดและศึกษาลักษณะสมบัติของสารสกัดจากเนื้อฟันมนุษย์ (DME) ตลอดจนพัฒนาระบบควบคุมการปลดปล่อยสารสกัดเนื้อฟัน โดยใช้ตัวนำส่งที่ผลิตจากเจลาตินผสมไฟโบรอินไหมไทย (G:SF) ในอัตราส่วน 100:0, 70:30 และ 50:50 ซึ่งสามารถเก็บกัก DME ด้วยกลไกทางประจุไฟฟ้า และปลดปล่อยด้วยกลไกการย่อยสลายทางชีวภาพ การสกัด DME จากเนื้อฟันมนุษย์ในงานวิจัยนี้มีค่าร้อยละผลได้อยู่ที่ 0.388 และโปรตีนที่สกัดได้ส่วนใหญ่มีน้ำหนักโมเลกุลอยู่ในช่วง 55-72 กิโลดาลตัน สันนิษฐานว่าเป็นกลุ่มเมทริกซ์โปรตีนที่เป็นกรดซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการตอบสนองภาวะทางชีวภาพต่างๆ DME ที่พีเอช 7.5 และ 5.5 มีค่าศักย์เซต้าอยู่ที่ -10.530 ± 12 มิลลิโวลต์ และ -13.530 ± 31 มิลลิโวลต์ ตามลำดับ และการทดสอบกับต่อเซลล์ MC3T3-E1 แสดงให้เห็นว่า DME มีผลให้อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะของเซลล์น้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ และ DME ที่ความเข้มข้น 100 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร จะส่งเสริมให้เซลล์มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์เป็นกระดูกได้ เนื่องจากในวันที่ 10 พบว่ามีกิจกรรมเอนไซม์ อัลคาไลน์ฟอสฟาเตสมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และในวันที่ 21 พบการสะสมแคลเซียมโดยการย้อม Alizarin red ตัวนำส่ง G:SF 100:0, 70:30 และ 50:50 มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 11 มิลลิเมตร และมีน้ำหนักเฉลี่ย 13.28 ± 0.50, 12.86 ± 0.56 และ 11.36 ± 0.63 มิลลิกรัม ตามลำดับ และมีการปลดปล่อยสารทันที (burst release) ในสารละลายฟอสเฟตบัฟเฟอร์อยู่ในช่วงร้อยละ 12.93 ± 7.84 ถึง 21.42 ± 1.18 จากผลการศึกษาอัตราการปลดปล่อย DME ภายนอกร่างกายในเวลา 48 ชั่วโมง พบว่า อัตราส่วนผสมไฟโปรอินไหมไทยที่มากขึ้นในการผลิตตัวนำส่งส่งผลให้อัตราการปลดปล่อย DME ช้าลง สันนิษฐานว่า DME สามารถยึดเกาะกับตัวนำส่งชนิด G:SF 50:50 ได้ดีที่สุด และสอดคล้องกับผลการเปรียบเทียบอัตราการย่อยสลายของตัวนำส่งทั้งสามชนิดที่ว่า ตัวนำส่งชนิด G:SF 50:50 มีอัตราการย่อยสลายที่ช้าที่สุดด้วย กล่าวได้ว่า ตัวนำส่งเจลาตินผสมไฟโบรอินไหมไทยสามารถนำมาพัฒนาเพื่อการควบคุมการปลดปล่อย DME ได้ต่อไป
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ