การเปล่งแสงจากอินเดียมอาร์เซไนด์ควอนตัมดอตโมเลกุล
รหัสดีโอไอ
Title การเปล่งแสงจากอินเดียมอาร์เซไนด์ควอนตัมดอตโมเลกุล
Creator นิรัตน์ พัฒนเสมากุล
Contributor ทรงพล กาญจนชูชัย
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword โครงสร้างนาโน, ควอนตัมดอต, อินเดียมอาร์เซไนด์, การปลูกผลึกอิพิแทกซีจากลำโมเลกุล, Nanostructures, Quantum dots, Indium arsenide, Molecular beam epitaxy
Abstract รายงานการปลูกและสมบัติทางแสงของควอนตัมดอตโมเลกุล (QDMs) ซึ่งประกอบด้วย ควอนตัมดอตกลาง (cQDs) และ ควอนตัมดอตบริวาร (sQDs) cQDs และ sQDs มีทั้งการเกิดและขนาดกระจายตัวต่างกัน ทำให้มีสเปกตรัมที่ต่างกัน โครงสร้าง QDMs ถูกเตรียมขึ้นโดยการปลูกซ้ำของ InAs บนแม่แบบหลุมนาโน (nanohole) ดังนั้นสมบัติของ cQDs และ sQDs จึงได้รับผลกระทบจากโครงสร้างหลุมนาโนชั้นล่าง โครงสร้างและสมบัติทางแสงของ QDMs ถูกศึกษาควบคู่กันไปโดยเปลี่ยนความหนาการกลบและการปลูกซ้ำ ผล PL ตามอุณหภูมิของ QDMs แสดงพฤติกรรมแบบ 2 กลุ่มที่เป็นเอกลักษณ์ ต่างจากโครงสร้าง QDs หรือโครงสร้างนาโนอื่น ซึ่งเป็นผลจาก QDMs มีขนาด QDs กระจายตัวเป็น 2 กลุ่ม สเปกตรัมของ QDMs อธิบายได้ด้วยฟังก์ชัน Gaussian หลายฟังก์ชัน ซึ่งแสดงการเปล่งแสงจากระดับพลังงานพื้นจาก cQDs และ sQDs การเปล่งแสงของ cQDs ขึ้นกับความหนาของชั้นกลบอย่างมาก และแทบจะเป็นอิสระต่อความหนาปลูกซ้ำ ในขณะที่การเปล่งแสงของ sQDs ขึ้นกับพารามิเตอร์ทั้ง 2 ตัว ยิ่งชั้นกลบหนา สเปกตรัมของ cQDs ก็ยิ่งมีระดับพลังงานต่ำ เมื่อชั้นกลบหนา 6 ML สเปกตรัมของ cQDs อยู่ในช่วง 1.16-1.19 eV และเมื่อชั้นกลบหนา 25 ML ระดับพลังงานทั้งช่วงจะลดลง (red-shifted) มาที่ 1.05-1.07 eV การเปล่งแสงของ sQDs ต้องปลูกซ้ำหนาขึ้นเมื่อชั้นกลบหนาขึ้น มิฉะนั้น sQDs จะเกิดขึ้นไม่สมบูรณ์และไม่ปรากฏการเปล่งแสงจาก sQDs สเปกตรัมของ sQDs เมื่อชั้นกลบและปลูกซ้ำหนาเหมาะสม อยู่ในช่วง 1.11-1.21 eV ความกว้างที่ครึ่งของยอด (FWHM) ของ cQDs และ sQDs มีค่า 20-35 และ 60-75 meV ตามลำดับ ผล PL ตามอุณหภูมิแสดงให้เห็นว่า เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น สถานะพื้นของ cQDs มีพลังงานที่ลดลงอย่างช้าๆ ขณะที่ FWHM มีค่าเกือบคงที่ ในทางตรงกันข้าม สถานะพื้นของ sQDs เปลี่ยนแปลงแบบ sigmoidal ขณะที่ FWHM เปลี่ยนแปลงอย่างไม่สม่ำเสมอ เป็นผลจากการกระจายตัวใหม่ของคู่พาหะภายในและระหว่างโมเลกุล การซ้อน QDMs 2 ชั้นที่มีเงื่อนไขการปลูกต่างกันทำให้โครงสร้างสามารถเปล่งแสงได้ในช่วงกว้าง โครงสร้าง QDMs ซ้อน 2 ชั้นซึ่งยังไม่ถูกปรับให้เหมาะที่สุดแสดง FWHM ที่ 170 meV ส่วนนี้สามารถเป็นผลที่สำคัญสำหรับบทประยุกต์โฟโตโวลทาอิก
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ