การปลูกและวัดลักษณะสมบัติของอินเดียมอาร์เซไนด์ควอนตัมคอตที่ซ้อนทับกันบนแผ่นฐานลายตาราง
รหัสดีโอไอ
Title การปลูกและวัดลักษณะสมบัติของอินเดียมอาร์เซไนด์ควอนตัมคอตที่ซ้อนทับกันบนแผ่นฐานลายตาราง
Creator เฉลิมชัย ฮิมวาส
Contributor ทรงพล กาญจนชูชัย
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword การปลูกผลึกอิพิแทกซีจากลำโมเลกุล, ควอนตัมดอต, อินเดียมอาร์เซไนด์, Molecular beam epitaxy, Quantum dots, Indium arsenide
Abstract นำเสนอการปลูกควอนตัมดอต InAs บนแผ่นฐานลายตาราง InGaAs หนึ่งชั้นและหลายชั้น ด้วยระบบเอพิแทกซีแบบลำโมเลกุล (MBE) ชิ้นงาน as-grown ถูกศึกษาลักษณะด้วยกล้องจุลทรรศน์แรงอะตอม (AFM) และการทดลองโฟโตลูมิเนสเซนส์ (PL) ที่อุณหภูมิต่ำ ชิ้นงานยังถูกอบแบบ in situ และ ex situ และวัดสมบัติทางแสง ความเข้าใจสัณฐานวิทยาพื้นผิวสามารถใช้อธิบายสมบัติทางแสงได้ นอกจากนั้นควอนตัมดอตที่ซ้อนทับกันหลายขั้นอาจปรับปรุงสมบัติทางแสงเนื่องจากการเพิ่มพาหะในโครงสร้าง หรืออาจขยายช่วงการเปล่งแสงจากการรวมกันของการเปล่งแสงแต่ละช่วง ควอนตัมดอต InAs บนลายตาราง InGaAs แสดงการเปล่งแสงจากหลายค่ายอด ประกอบด้วย 5 สถานะพื้นดังนี้ ควอนตัมดอตในทิศ [1-10] และ [110], WL ทั้งสองตำแหน่ง และลายตาราง หลังจากอบ in situ ด้วยอุณหภูมิ 700°C พบว่าการเปล่งแสงลดลงอย่างรวดเร็วจากลายตารางที่เสื่อมสภาพลง อุณหภูมิดังกล่าวจึงใช้เป็นขีดจำกัดบนของอุณหภูมิสำหรับการปลูกชั้น overlayer การอบ ex sity โดยผ่านไฮโดรเจนที่อุณหภูมิต่ำที่ 350°C ทำให้การเปล่งแสงโดยรวมดีขึ้น โดยเฉพาะ WL ที่พลังงานสูงมีสเปกตรัมการเปล่งแสงแคบลงพร้อมกับเกิด blueshift เนื่องจากพันธะไฮโดรเจนรักษาจุดบกพร่องและปลดปล่อยความเครียดบางส่วน ควอนตัมดอต InAs บนลายตารางสองชั้นถูกปลูกด้วยสัดส่วนโมลของ In ที่ต่างกันในแต่ละขั้นเพื่อศึกษาผลการเปล่งแสงโดย PL ผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าชิ้นงานเปล่งแสงจากชั้นบนเท่านั้น ในขณะที่การเปล่งแสงจากชั้นล่าง (ถ้ามี) จะถูกดูดกลืนโดยชั้นลายตารางที่คั่นกลาง การเปล่งแสงจากควอนตัมดอต InAs บนลายตารางหลายชั้นจึงไม่ทำให้ผลการเปล่งแสงดีไปกว่าโครงสร้างควอนตัมดอต InAs บนลายตารางหนึ่งชั้น ในทางตรงกันข้าม โครงสร้างที่เป็นควอนตัมดอตหลายชั้นบนลายตารางโดยมี GaAs บางๆ (20 nm) คั่นกลางระหว่างควอนตัมดอตให้ผลโพลาไรเซชันที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม DOP กลับลดลงเมื่อปลูกควอนตัมดอตหลายชั้นเกินไป DOP ที่มากขึ้นเนื่องจากการเปล่งแสงที่ควบคู่กันของควอนตัมดอต ขณะที่การเปล่งแสงที่ลดลงของโครงสร้างที่มีควอนตัมดอตหลายชั้นเกินไปเกิดจากการเสื่อมสภาพของวัสดุ
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ