![]() |
การนำเสนอรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากีฬาเทนนิสอาชีพในประเทศไทย |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การนำเสนอรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากีฬาเทนนิสอาชีพในประเทศไทย |
Creator | สุธนะ ติงศภัทิย์ |
Contributor | สมบูรณ์ อินทร์ถมยา, ศิริชัย ศิริกายะ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | เทนนิส -- ไทย, นักกีฬา, การศึกษา -- หลักสูตร, กีฬาแห่งชาติ, Tennis -- Thailand, Athletes, Education -- Curricula |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากีฬาเทนนิสอาชีพในประเทศไทย การวิจัยมี 6 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 การศึกษาปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาเพื่อกำหนดกรอบ ขั้นที่ 2 การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) ขั้นที่ 3 การสังเคราะห์รูปแบบโดยใช้แบบจำลองของสตีเฟ่น ทูลมิน (Stephen Toulmin) ในการตีความ ขั้นที่ 4 การสนทนากลุ่ม (Focus Group) และสัมภาษณ์เชิงลึก ขั้นที่ 5 การหาคุณภาพของรูปแบบโดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของรูปแบบ และขั้นที่ 6 การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) เพื่อการวางแผนบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk Management) เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ของรูปแบบ และนำเสนอรูปแบบ โดยมีแหล่งข้อมูลคือ อดีตนักกีฬาเทนนิส ผู้ฝึกสอน ผู้จัดการแข่งขัน นักการศึกษา บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกีฬาเทนนิส และผู้ทรงคุณวุฒิ เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม ประเมินค่า IOC และประเมินค่าความเสี่ยงเพื่อการบริหารจัดการความเสี่ยง ผลการวิจัย ได้นำเสนอรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากีฬาเทนนิสอาชีพในประเทศไทย ที่เหมาะสมในสภาพปัจจุบันประกอบด้วยประเด็นพื้นฐานจากการสังเคราะห์ตามแบบจำลองของสตีเฟ่นทูลมินและการสังเคราะห์รูปแบบการจัดการศึกษาจากทฤษฏีการศึกษาจากประสบการณ์ (Experiential Education) ของจอห์น ดิวอี้ (John Dewey) เน้นให้ผู้เรียนได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สร้างให้เหมือนกับชีวิตจริง (Environment Center) เพราะอาชีพของผู้เรียนคือการเล่นกีฬาเทนนิส และได้นำเสนอรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากีฬาเทนนิสอาชีพเชิงข้อความจำนวน 7 ข้อประกอบด้วย 1. วิสัยทัศน์ 2. พันธกิจ 3. เป้าหมาย 4. โครงสร้างการบริหารจัดการ คือ 4.1. การจัดการเรียนรู้ 4.2. การคัดเลือกผู้เรียน 4.3. บุคลากร 4.4. สถานที่ 4.5. งบประมาณ 5. พระราชบัญญัติการศึกษาที่เกี่ยวข้อง 6. หลักสูตร คือ 6.1. จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 6.2. โครงสร้างหลักสูตร 6.3. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 6.4. เวลาเรียน 6.5. ตารางเรียน 6.6. แผนการจัดการเรียนรู้ 6.7. การวัดและประเมินผล และ7. ความเหมาะสมของรูปแบบ โดยรูปแบบมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) รวมเฉลี่ยในระดับดีมาก เท่ากับ 0.98 และ 0.91 และมีค่าการประเมินความเสี่ยง เมื่อวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงแล้วมีค่าผลคูณที่ได้อยู่ระหว่าง 1-6 มีความเสี่ยงน้อย เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้น ด้านปัจจัยนำเข้า เรื่องโอกาสที่จะไม่มีงบประมาณสนับสนุนโครงการ มีค่าผลคูณที่ได้ คือ 12.14 อยู่ในระดับมีความเสี่ยงสูง ผู้ทรงคุณวุฒิเสนอแนวทางในการแบ่ง (Share) ความเสี่ยงโดยการจัดตั้งเป็นมูลนิธิเพื่อการบริหารงบประมาณแทน |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |