ลักษณะรูปร่าง และไซโตเคมีของเซลล์เม็ดเลือด โลหิตวิทยา และชีวเคมีของปลากระเบนราหู (Himantura chaophraya) ในประเทศไทย
รหัสดีโอไอ
Title ลักษณะรูปร่าง และไซโตเคมีของเซลล์เม็ดเลือด โลหิตวิทยา และชีวเคมีของปลากระเบนราหู (Himantura chaophraya) ในประเทศไทย
Creator เยาประภา มาธุระ
Contributor นันทริกา ชันซื่อ, อัจฉริยา ไศลสูต
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword ปลากระเบนราหู, โลหิตวิทยา, เม็ดเลือด, ชีวเคมีคลินิกทางสัตวแพทยศาสตร์, giant freshwater stingray, Hematology, Blood cells, Veterinary clinical biochemistry
Abstract ศึกษาลักษณะรูปร่างและไซโตเคมีของเซลล์เม็ดเลือด โลหิตวิทยา และชีวเคมีของปลากระเบนราหู (Himantura chaophraya) ซึ่งเป็นปลากระเบนน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก จากตัวอย่างปลากระเบน โตเต็มวัยเพศผู้และเพศเมีย กลุ่มละ 27 ตัวอย่าง จากแม่น้ำแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม ในช่วงเดือน มี.ค. 2552 - ก.พ. 2553 บันทึกข้อมูลด้านสุขภาพเบื้องต้นและวัดขนาดลำตัวจากทุกตัวอย่างรวมทั้งการวิเคราะห์คุณภาพน้ำจากแหล่งน้ำที่ปลาอาศัยอยู่ ผลการศึกษาพบว่าปลากระเบนทุกตัวมีสุขภาพดีไม่พบพยาธิภายนอก โดยปลากระเบนเพศเมียมีความยาวลำตัวรวมหาง ความยาวลำตัว และความกว้างลำตัว ยาวกว่าปลากระเบนเพศผู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างเพศต่ออัตราส่วนความกว้างลำตัวต่อความยาวลำตัว ในส่วนของค่าโลหิตวิทยาพบว่าปลากระเบนเพศผู้มีจำนวนเม็ดเลือดขาวโดยรวมสูงกว่าปลากระเบนเพศเมียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ซึ่งสามารถจำแนกชนิดของเม็ดเลือดขาวในปลากระเบนราหูได้เป็น 5 ชนิด ตามปริมาณการพบ คือ ลิมโฟไซต์ (65.54±3.79%) โมโนไซต์ (2.91±0.83%) และแกรนูโลไซต์อีก 3 ชนิดย่อย ได้แก่ อิโอสิโนฟิลลิก-เฮเทอโรฟิลชนิดที่มีแกรนูลรูปกระสวย(15.74±2.70%) อิโอสิโนฟิลลิก-เฮเทอโรฟิลชนิดที่มีแกรนูลกลม (4.35±1.14%) และเฮเทอโรฟิลที่แกรนูลติดสีเป็นกลางหรือ นิวโทรฟิลิก-เฮเทอโรฟิล (11.52±2.20%) ผลการศึกษาจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอนและปฏิกิริยาการติดสีทางไซโตเคมีพบว่าปลากระเบนราหูมีลักษณะของเม็ดเลือดแดง ลิมโฟไซต์ โมโนไซต์และทรอมโบไซต์ที่คล้ายคลึงกับในปลากระดูกอ่อนและปลากระดูกแข็งชนิดอื่น ในขณะที่อิโอสิโนฟิลลิก-เฮเทอโรฟิลชนิดที่มี แกรนูลรูปกระสวยมีคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกับเฮเทอโรฟิลและอิโอสิโนฟิลลิก-เฮเทอโรฟิลชนิดที่มีแกรนูลกลมมีคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกับอิโอสิโนฟิลในสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ปีก ส่วนนิวโทรฟิลิก-เฮเทอโรฟิลมีคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกับนิวโทรฟิลในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผลการศึกษาทางชีวเคมีพบว่าปลากระเบนเพศผู้มีปริมาณแมกนีเซียมและคลอไรด์ในซีรัมสูงกว่าปลากระเบนเพศเมียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนปลากระเบนเพศเมียมีปริมาณเอ็นไซม์ Creatinine Kinase ที่สูงกว่าปลากระเบนเพศผู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เช่นกัน การศึกษาครั้งนี้ถือเป็นรายงานด้านสุขภาพครั้งแรกในปลากระเบนราหู ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีคุณค่าสูงในเชิงอนุรักษ์และมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้ (IUCN Red list species)
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ