การใช้ตาข่ายชนิดยึดติดเนื้อเยื่อได้เองแก้ไขไส้เลื่อนข้างทวารหนักในสุนัข
รหัสดีโอไอ
Title การใช้ตาข่ายชนิดยึดติดเนื้อเยื่อได้เองแก้ไขไส้เลื่อนข้างทวารหนักในสุนัข
Creator วชิราพร กานิล
Contributor สุมิตร ดุรงค์พงษ์ธร
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword สุนัข -- โรค, ไส้เลื่อน, Dogs -- Diseases, Hernia
Abstract การศึกษาการแก้ไขไส้เลื่อนข้างทวารหนักในสุนัขโดยใช้ตาข่ายชนิดยึดตึดเนื้อเยื่อได้เอง โดยศึกษาในสุนัขที่มีภาวะไส้เลื่อนข้างทวารหนักที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสัตว์เล็ก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 12 ตัว แก้ไขไส้เลื่อนจำนวน 13 ข้าง โดยสุนัขได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดแก้ไขไส้เลื่อนโดยการเย็บกล้ามเนื้อผนังเชิงกรานเข้าหากันด้วยไหมละลายจำนวน 2-4 ปม ก่อนวางตาข่ายชนิดยึดติดเนื้อเยื่อได้เองลงบนผนังเชิงกรานที่แก้ไขแล้ว สุนัขทุกตัวได้รับการรักษาต่อเนื่องทางอายุรกรรมโดยการให้ยาระบาย ร่วมกับการปรับอาหารเป็นอาหารกากใยสูงหลังการผ่าตัดแก้ไขไส้เลื่อน จากการติดตามผลการศึกษา 4 เดือน พบว่ามีอัตราการประสบความสำเร็จร้อยละ 91.67 เวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการผ่าตัดแก้ไขเท่ากับ 57.92 นาที พบการกลับเป็นซ้ำของไส้เลื่อนข้างทวารหนัก 1 ข้างจากการแก้ไข 13 ข้าง ข้อแทรกซ้อนหลังผ่าตัดที่พบ ได้แก่ การปวดเบ่งอุจจาระและปัสสาวะชั่วคราวหลังการผ่าตัด (ร้อยละ 16.67 และ 8.33 ตามลำดับ) การอักเสบของแผลผ่าตัด (ร้อยละ 66.67) และการกลับมาเคลื่อนไหวตามปกติช้า (ร้อยละ 8.33) โดยไม่พบข้อแทรกซ้อนหลักอื่น ๆ จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่าการใช้ตาข่ายชนิดยึดติดเนื้อเยื่อได้เองแม้จะมีข้อจำกัดในด้านราคา แต่ให้อัตราประสบความสำเร็จสูง ใช้เวลาผ่าตัดน้อย และมีข้อแทรกซ้อนหลังผ่าตัดน้อย จึงเป็นตัวเลือกหนึ่งเพื่อนำมาใช้แก้ไขเลื่อนข้างทวารหนักในสุนัขโดยเฉพาะในกรณีที่กล้ามเนื้อผนังเชิงกรานบางและช่องเปิดไส้เลื่อนมีขนาดใหญ่ และน่าจะให้ผลดียิ่งขึ้นเมื่อทำร่วมกับเทคนิคการย้ายตำแหน่งกล้ามเนื้ออินเทอร์นอลออบทูเรเตอร์
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ