![]() |
การหมุนเวียนสร้างตะกอนเฟอริกไฮดรอกไซด์ผ่านระบบบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศและเติมอากาศ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การหมุนเวียนสร้างตะกอนเฟอริกไฮดรอกไซด์ผ่านระบบบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศและเติมอากาศ |
Creator | ภัทรา ธรรมาพิมล |
Contributor | ศรัณย์ เตชะเสน |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | น้ำเสีย -- การบำบัด -- วิธีแบบไร้ออกซิเจน, น้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์ -- การรวมตะกอน, Sewage -- Purification -- Anaerobic treatment, Water -- Purification -- Coagulation |
Abstract | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแนวทางการลดสารช่วยตกตะกอนเฟอริกคลอไรด์ที่นิยมใช้ร่วมกับระบบเอเอสทางชีวภาพ โดยการเพิ่มถังไร้อากาศเพื่อสลายตะกอนเฟอริกไฮดรอกไซด์ และสร้างขึ้นใหม่ในถังเติมอากาศ ผลการศึกษาพบว่า เมื่อนำน้ำทิ้งมาวิเคราะห์ด้วยวิธีจาร์เทสเพื่อหาปริมาณเฟอริกคลอไรด์ที่เหมาะสม โดยควบคุมพีเอชเท่ากับ 8 ความเข้มข้นของเฟอริกคลอไรด์ 200 มก./ล. มีประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีและความขุ่นได้ร้อยละ 78 และ 98 ตามลำดับ เมื่อนำเฟอริกคลอไรด์เติมในถังเติมอากาศและควบคุมให้มีเหล็กในถังเติมอากาศ 200 มก./ล. พบว่า เฟอริกคลอไรด์ที่มีความเข้มข้น 50 มก./ล. หรือคิดเป็น 75 มก./วัน สามารถควบคุมให้ปริมาณเหล็กทั้งหมดในถังเติมอากาศมีค่าเฉลี่ย 260.76 มก./ล. เฟอรัสไอออนเฉลี่ย 6.14 มก./ล. และเฟอริกไอออนเฉลี่ย 254.62 มก./ล. เมื่อนำน้ำเสียและตะกอนจากถังตกตะกอนผ่านเข้าถังไร้อากาศโดยแปรผันขนาดถังไร้อากาศที่มีระยะเวลากักเก็บน้ำ 48 24 12 6 3 และ 1 ชั่วโมง พบว่า ถังไร้อากาศที่มีระยะเวลากักเก็บน้ำ 48 ชั่วโมง สามารถลดปริมาณเฟอริกคลอไรด์ลงได้จากเดิม 75 มก./วัน เป็น 22.5 มก./วัน และเพิ่มปริมาณขึ้นเป็น 45 และ 49.5 มก./วัน ในถังไร้อากาศที่มีระยะเวลากักเก็บน้ำ 24 และ 12 ชั่วโมง ตามลำดับ และไม่ต้องเติมเฟอริกคลอไรด์ในถังไร้อากาศที่มีระยะเวลากักเก็บน้ำ 6 3 และ 1 ชั่วโมง ตามลำดับ โดยถังไร้อากาศที่มีระยะเวลากักเก็บน้ำ 6 ชั่วโมง ถูกนำมาใช้เพื่อเวียนน้ำจากถังหมักตะกอนไร้อากาศกลับเข้าถังเติมอากาศ พบว่า มีปริมาณเหล็กทั้งหมดในถังเติมอากาศเฉลี่ย 379.12 มก./ล. เฟอรัสไอออนเฉลี่ย 0.29 มก./ล. และเฟอริกไอออนเฉลี่ย 378.83 มก./ล. และเมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนรูปของเฟอริกไอออนเป็นเฟอรัสไอออนในถังไร้อากาศแบบแบตช์โดยเติมและไม่เติมเมอร์คิวริกคลอไรด์ พบว่าไม่แตกต่างกัน ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นนั้นจึงไม่น่าจะเป็นกระบวนการทางชีวภาพ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |