![]() |
การนำเสนอแนวทางการส่งเสริมผู้สร้างสรรค์พุทธศิลป์เพื่อการธำรง และการสืบต่อวัฒนธรรมการเรียนรู้การสร้างสรรค์พุทธศิลป์ |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การนำเสนอแนวทางการส่งเสริมผู้สร้างสรรค์พุทธศิลป์เพื่อการธำรง และการสืบต่อวัฒนธรรมการเรียนรู้การสร้างสรรค์พุทธศิลป์ |
Creator | วิสิทธิ์ โพธิวัฒน์ |
Contributor | อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร, จุลนี เทียนไทย |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | พิชัย นิรันต์ -- ผลงาน, ปริญญา ตันติสุข -- ผลงาน, นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน -- ผลงาน, พัดยศ พุทธเจริญ -- ผลงาน, ศิลปกรรมพุทธศาสนา, การเรียนรู้, พุทธศาสนา, Pichai Niran, Prarin Tantisuk, Nonthivathn Chandanaphalin, Phatyoth Buddhacharoen, Buddhist art, Learning, Buddhism |
Abstract | การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ของงานวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมการเรียนรู้ของผู้ สร้างสรรค์พุทธศิลป์ และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการธำรง และการสืบต่อวัฒนธรรมการเรียนรู้ การสร้างสรรค์พุทธศิลป์ ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตกรณีศึกษาคือ ผู้สร้างสรรค์พุทธศิลป์สาขา ทัศนศิลป์ เนื่องจากทัศนศิลป์เป็นพื้นฐานของงานศิลปะหลายสาขาและมีการเผยแพร่ผลงาน อย่างกว้างขวาง การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยประวัติชีวิต การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1.ขั้นตอนการคัดเลือกกรณีศึกษา 2.ขั้นตอนการเก็บข้อมูล 3.ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล 4.ขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูล 5.ขั้นตอนการสรุปผลและนำเสนอข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ผู้สร้างสรรค์พุทธศิลป์ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ 1. อาจารย์พิชัย นิรันต์ 2.รองศาสตราจารย์ปริญญา ตันติสุข 3. ศาสตรเมธีนนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน และ 4.รองศาสตราจารย์พัดยศ พุทธเจริญ โดยกลุ่มผู้สร้างสรรค์ดังกล่าว มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย แนวทางการเรียนรู้หลักใน 2 ด้านสำคัญ ประกอบด้วย ด้านแรก การเรียนรู้ด้าน พระพุทธศาสนา โดยเน้นหลักธรรมคำสอน ด้านที่สอง คือ การเรียนรู้ด้านศิลปะที่เกิดจากการ ปลูกฝังโดยสภาพแวดล้อมที่ผู้เรียนรู้ได้เติบโตมา การเลือกสาขาวิชาเข้าศึกษาต่อในระดับการ ศึกษาต่างๆ ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ทั้งสองด้านนั้นดำเนินไปอย่างผสมสาน แบ่งออกเป็น 3 ช่วง การเรียนรู้ คือ ช่วงชีวิตการเรียนรู้ ช่วงชีวิตการเติบโตและช่วงชีวิตการค้นหา ทั้งสามช่วง การเรียนรู้นั้นได้พัฒนาผู้เรียนสู่การเป็นผู้มีปรีชาสามารถในการสร้างสรรค์พุทธศิลป์ ขณะเดียวกัน กระบวนการนี้ก็ได้กลายเป็นวิถีชีวิต การพัฒนาตัวตนและจิตใจของผู้สร้างสรรค์พุทธศิลป์ หล่อ หลอมให้ดำเนินชีวิตอยู่บนวิถีที่มุ่งสู่ปัญญาเป็นเป้าหมายระดับสูง และแนวทางการธำรงและ สืบต่อวัฒนธรรมการเรียนรู้การสร้างสรรค์พุทธศิลป์ ประกอบด้วย การใช้กลไกทางสังคมสำหรับ ดำเนินการธำรงและสืบต่อวัฒนธรรมการเรียนรู้การสร้างสรรค์พุทธศิลป์ ประกอบด้วย สถาบัน ครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันรัฐ สถาบันศาสนา สถาบันวิชาชีพ สถาบันเศรษฐกิจ และสถาบันสื่อมวลชน ซึ่งกลไกสังคมต่างๆ นั้นต้องมีแนวทางการสร้างความศรัทธา การถ่ายทอด ความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่เอื้อต่อวัฒนธรรมการสร้างสรรค์พุทธศิลป์ มีการสร้างแรงบันดาลใจ ทางศิลปะ และการถ่ายทอดความรู้ทางศิลปะที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์พุทธศิลป์ |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |