ความยืดหยุ่น การสนับสนุนทางสังคม การเผชิญปัญหา และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง
รหัสดีโอไอ
Title ความยืดหยุ่น การสนับสนุนทางสังคม การเผชิญปัญหา และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง
Creator วีรภัทรา ประภาพักตร์
Contributor ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword หลอดเลือดสมอง -- โรค, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, ความดันเลือดสูงในผู้สูงอายุ, Cerebrovascular disease, Quality of life, Older people, Hypertension in old age
Abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความยืดหยุ่น การสนับสนุนทางสังคม การเผชิญปัญหา และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 140 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จากผู้ป่วยที่มารับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอก คลินิกอายุรกรรมประสาทโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สถาบันประสาทวิทยา และโรงพยาบาลตำรวจ เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความยืดหยุ่น แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม แบบวัดการเผชิญปัญหา และแบบสอบถามคุณภาพชีวิต (SF-12 version 2) ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และทดสอบหาค่าความเที่ยง โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .84, .88, .75 และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองมีคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกายในระดับต่ำ ( = 43.37, SD = 9.93) แต่มีคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพจิตอยู่ในระดับปานกลาง ( = 53.18 , SD = 8.72) 2. ความยืดหยุ่นมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกายและด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .279 และ .297 ตามลำดับ 3. การสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตทั้งด้านสุขภาพกายและด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง 4. การเผชิญปัญหาด้านการเผชิญหน้ากับปัญหามีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตทั้งด้านสุขภาพกายและด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 (r = .197 และ r = .286 ตามลำดับ) ด้านการจัดการอารมณ์มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตทั้งด้านสุขภาพกายและด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 (r = -.260 และ -.451 ตามลำดับ) ด้านการเผชิญปัญหาแบบเบี่ยงเบนความรู้สึกไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย แต่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = 0.210)
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ