![]() |
การแยกสลายด้วยความร้อนของน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วบนตัวเร่งปฏิกิริยาเอฟซีซีใช้แล้ว |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การแยกสลายด้วยความร้อนของน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วบนตัวเร่งปฏิกิริยาเอฟซีซีใช้แล้ว |
Creator | กุณฑณี ปิ่นเวหา |
Contributor | ธราพงษ์ วิทิตศานต์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | การแยกสลายด้วยความร้อน, น้ำมันหล่อลื่น, ตัวเร่งปฏิกิริยา, Pyrolysis, Lubricating oils, Catalysts |
Abstract | งานวิจัยนี้จะศึกษาถึงกระบวนการแตกตัวของน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วบนตัวเร่งปฏิกิริยาเอฟซีซีใช้แล้ว โดยทำการทดลองในเครื่องปฏิกรณ์ขนาด 250 มิลลิลิตร กระบวนการแตกตัวของน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วนี้จะทำการศึกษาที่สภาวะอุณหภูมิ 410-450 องศาเซลเซียส ระยะเวลาในการทําปฏิกิริยา 30-60 นาที ความดันไฮโดรเจนเริ่มต้น 1-5 บาร ปริมาณของตัวเร่งปฏิกิริยาเอฟซีซีใช้แล้ว 1-5 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ปริมาณสารตั้งต้นจำนวน 20 กรัม ใช้การทดลองแบบแฟกทอเรียลสองระดับศึกษาอิทธิพลของตัวแปรที่มีผลต่อร้อยละผลได้ของผลิตภัณฑ์น้ำมัน เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันและองค์ประกอบที่ดีที่สุด โดยนำผลิตภัณฑ์ที่ได้มาวิเคราะห์ปริมาณและองค์ประกอบของน้ำมันที่เกิดขึ้นด้วยเครื่อง Simulate Distillation Gas Chromatography (DGC) ภาวะที่เหมาะสมของการแตกตัวของน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้แล้วบนตัวเร่งปฏิกิริยาเอฟซีซีใช้แล้วคือที่อุณหภูมิ 410 องศาเซลเซียส ระยะเวลาในการทำปฏิกิริยา 46 นาที ความดันไฮโดรเจนเริ่มต้น 1 บาร์และตัวเร่งปฏิกิริยาร้อยละ 1.12 โดยน้ำหนัก ซึ่งในภาวะการทดลองข้างต้นจะได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันร้อยละ 78.42 โดยน้ำหนัก แก๊สไฮโดรคาร์บอนร้อยละ 16.84 โดยน้ำหนัก กากของแข็งร้อยละ 4.74 โดยน้ำหนัก องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์น้ำมันมีปริมาณแนฟทา ร้อยละ 33.26 โดยน้ำหนัก เคโรซีนร้อยละ 19.70 โดยน้ำหนัก ดีเซลร้อยละ 32.25 โดยน้ำหนัก โมเลกุลไฮโดรคาร์บอนสายโซ่ยาวร้อยละ 5.37 โดยน้ำหนัก และพบว่ามีหมู่ฟังก์ชั่นหลักเป็นพวกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเมื่อเทียบกับหมู่ฟังก์ชันหลักในน้ำมันเบนซินออกเทน 95 แล้วพบว่ามีหมู่แอโรแมติกไฮโดรคาร์บอนที่คล้ายกัน |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |