![]() |
การติดตามการเคลื่อนตัวและแบบจำลองประมาณค่าการเคลื่อนตัวในโครงข่ายทางยีออเดซีของประเทศไทยจากเหตุแผ่นดินไหวสุมาตรา อันดามันและนิแอส ปี พ.ศ. 2547 และ 2548 |
---|---|
รหัสดีโอไอ | |
Title | การติดตามการเคลื่อนตัวและแบบจำลองประมาณค่าการเคลื่อนตัวในโครงข่ายทางยีออเดซีของประเทศไทยจากเหตุแผ่นดินไหวสุมาตรา อันดามันและนิแอส ปี พ.ศ. 2547 และ 2548 |
Creator | เอกภพ ภาณุมาศตระกูล |
Contributor | เฉลิมชนม์ สถิระพจน์ |
Publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Publication Year | 2554 |
Keyword | แผ่นดินไหว -- อินโดนีเซีย, การเคลื่อนไหวของโลก, ยีออเดซี -- ไทย, Earthquakes -- Indonesia, Earth movements, Geodesy -- Thailand |
Abstract | จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวสุมาตรอันดามันขนาดโมเมนต์แผ่นดินไหวเท่ากับ 9.2 เมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ.2547 และแผ่นดินไหวนิแอสขนาดโมเมนต์แผ่นดินไหวเท่ากับ 8.7 เมื่อ 28 มีนาคม พ.ศ.2548 ได้ส่งผลกระทบต่อโครงข่ายทางยีออเดซีของประเทศไทย ที่มีจำนวนหมุดหลักฐานมากกว่า 700 หมุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อโครงข่ายอ้างอิง ที่ใช้เป็นโครงข่ายการรังวัดติดตามการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกในภูมิภาคนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2537 เกิดการบิดเบี้ยว โดยความร่วมมือของกรมแผนที่ทหารซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงข่ายของประเทศไทย ได้ทำการรังวัดติดตามการเคลื่อนตัวเพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดจากแผ่นดินไหวครั้งนี้อย่างต่อเนื่องภายหลังการเกิดแผ่นดินไหว ในเดือนกุมภาพันธ์ กรกฎาคม และตุลาคม พ.ศ.2548, เดือนเมษายน กรกฎาคม และพฤศจิกายน พ.ศ.2549, เดือนพฤษภาคม และพฤศจิกายน พ.ศ.2550, เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2551, เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2552 และครั้งล่าสุดเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2553 ผลจากการรังวัดติดตามครั้งล่าสุดพบว่า ยังมีการเคลื่อนตัวขนาดสูงสุดในพื้นที่ภาคใต้ รองลงมาในพื้นที่ภาคกลาง และน้อยที่สุดในพื้นที่ภาคเหนือ งานวิจัยสรุปได้ว่าการเคลื่อนตัวภายหลังการเกิดแผ่นดินไหวมีความสอดคล้องกับแบบจำลอง Logarithmic decay function และได้ศึกษาเพิ่มเติมการใช้ตัวกรองค่าการรังวัดการเคลื่อนตัวด้วยสมการเส้นตรง ผลลัพธ์มีคุณภาพดีขึ้น โดยค่าตัวแปรการถดถอยของเวลา (Tlog) ในสมการ Logarithmic decay function ของแต่ละจุดข้อมูล มีความสอดคล้องกันในทุกทิศทาง ทำให้สามารถประมาณค่าการเคลื่อนตัวของหมุดในโครงข่ายอ้างอิงของประเทศไทย ได้ทุกขณะเวลาที่ความละเอียดในระดับมิลลิเมตร นอกจากนี้ในงานวิจัยยังได้ทำการศึกษาการใช้เทคนิคการประมาณค่าภายใน เช่น การประมาณค่าภายในจากรูปสามเหลี่ยม และ Kriging เพื่อประมาณค่าการเคลื่อนตัวในตำแหน่งใดๆ ผลการศึกษาพบว่าวิธีการทั้งสองให้ผลลัพธ์ที่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ และให้ค่าความละเอียดถูกต้องในระดับ 1 เซนติเมตร โดยที่วิธีการ Kriging ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเล็กน้อย |
URL Website | cuir.car.chula.ac.th |