ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอด
รหัสดีโอไอ
Title ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอด
Creator ขวัญจิรา ถนอมจิตต์
Contributor สุรีพร ธนศิลป์
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword คุณภาพชีวิต, มะเร็ง, ปอด -- มะเร็ง, Lungs -- Cancer, Quality of life, Cancer
Abstract การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์และความสามารถในการทำนายระหว่างชนิดของเซลล์มะเร็งปอด ความปวด ความเหนื่อยล้า อาการหายใจลำบาก ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอด กลุ่มตัวอย่างที่เป็นมะเร็งปอด จำนวน193 คนที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 3 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความปวด แบบประเมินความเหนื่อยล้า แบบประเมินอาการหายใจลำบาก แบบประเมินอาการวิตกกังวลและซึมเศร้า แบบประเมินความต้องการการดูแลแบบสนับสนุน และแบบประเมินคุณภาพชีวิต ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .89, .92, .71, .83, .94 และ .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อีต้า และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอด อยู่ในระดับสูง ( [Mean]=73.01, SD =15.44) 2.ชนิดของเซลล์มะเร็งปอด ความเหนื่อยล้า อาการหายใจลำบาก ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า ความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนโดยรวม ความต้องการการดูแลสนับสนุนด้านร่างกาย ความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนด้านจิตใจ และความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนด้านเพศสัมพันธ์มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ความปวดและความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนด้านระบบการดูแลและข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพและความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนด้านการดูแลและช่วยเหลือมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งปอดอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ภาวะซึมเศร้า อาการหายใจลำบาก ความเหนื่อยล้า และความต้องการการดูแลแบบสนับสนุนสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งปอดได้ร้อยละ 43 (R2 = .43) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ