ปฏิกิริยาวอเตอร์แก๊สชิฟต์บนตัวเร่งปฏิกิริยาออกไซด์ผสมฐานทองแดง-แมงกานีสเตรียมโดยการสังเคราะห์แบบเผาไหม้
รหัสดีโอไอ
Title ปฏิกิริยาวอเตอร์แก๊สชิฟต์บนตัวเร่งปฏิกิริยาออกไซด์ผสมฐานทองแดง-แมงกานีสเตรียมโดยการสังเคราะห์แบบเผาไหม้
Creator สุวิมล ปัญญาเลิศวุฒิ
Contributor ณัฐธยาน์ พงศ์สถาบดี, อาภาณี เหลืองนฤมิตชัย
Publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Publication Year 2554
Keyword ไฮโดรเจน, ทองแดง, การเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์, แมงกานีส, การเผาไหม้, Hydrogen, Heterogeneous catalysis, Copper, Manganese, Combustion
Abstract งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความว่องไวของตัวเร่งปฏิกิริยาออกไซด์ผสมฐานทองแดง-แมงกานีสที่เตรียมโดยการสังเคราะห์แบบเผาไหม้สำหรับปฏิกิริยาวอเตอร์แก๊สชิฟต์ที่อุณหภูมิต่ำ ภายใต้อิทธิพลการเติมสังกะสี คุณลักษณะของตัวเร่งปฏิกิริยาถูกวิเคราะห์ด้วยเทคนิค BET XRD TEM TPR และ FT-IR ผลการทดลองพบว่าการเติมสังกะสีทำให้ความว่องไวของตัวเร่งปฏิกิริยาทองแดง-แมงกานีสเพิ่มขึ้น โดยจากผลการวิเคราะห์ XRD พบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาประกอบด้วยเฟส CuMn2O4 ZnMn2O4 CuO และ ZnO และผลการวิเคราะห์ TPR พบว่าพีครีดักชันของตัวเร่งปฏิกิริยาเคลื่อนเข้าสู่ช่วงอุณหภูมิต่ำลงและเฟสต่างๆ ในตัวเร่งปฏิกิริยาเกิดรีดักชันในช่วงอุณหภูมิใกล้เคียงกัน เมื่อเตรียมตัวเร่งปฏิกิริยาที่อัตราส่วนโดยน้ำหนักระหว่างแมงกานีสกับสังกะสีเท่ากับ 1:0.5 อัตราส่วนโดยโมลระหว่างทองแดงต่อผลรวมของทองแดง-แมงกานีส-สังกะสีเท่ากับ 0.15 อัตราส่วนโดยโมลระหว่างยูเรียต่อไนเตรตเท่ากับ 4.17 และตัวเร่งปฏิกิริยาควรถูกรีดิวซ์ในบรรยากาศของแก๊สไฮโดรเจน 20 เปอร์เซ็นต์สมดุลในฮีเลียม ที่ 260 องศาเซลเซียส ก่อนทำการทดสอบความว่องไวของตัวเร่งปฏิกิริยา จะให้ค่าร้อยละการเปลี่ยนสูงสุดของแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ 69-72 และค่าร้อยละผลได้สูงสุดของแก๊สไฮโดรเจน 61 ในช่วงอุณหภูมิ 270-300 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ยังพบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาทองแดง-แมงกานีส-สังกะสีสามารถทนต่อภาวะที่มีแก๊สออกซิเจนในกระแสแก๊สป้อนเข้ามากกว่าตัวเร่งปฏิกิริยาทองแดง-แมงกานีส และตัวเร่งปฏิกิริยามีความเสถียรตลอดช่วงเวลา 2880 นาที ที่อุณหภูมิ 270 องศาเซลเซียส
URL Website cuir.car.chula.ac.th
Chulalongkorn University

บรรณานุกรม

EndNote

APA

Chicago

MLA

ดิจิตอลไฟล์

Digital File #1
DOI Smart-Search
สวัสดีค่ะ ยินดีให้บริการสอบถาม และสืบค้นข้อมูลตัวระบุวัตถุดิจิทัล (ดีโอไอ) สำนักการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ค่ะ